สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564


สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564

1. ระเบียบนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยให้ยกเลิกระเบียบฉบับเก่าทั้งหมด คือ ยกเลิก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2550)

2. กำหนดความหมายคำว่า "อุบัติภัย" หมายความว่า ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเคหสถานหรือในที่สาธารณะ หรือจากอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางบก แต่ไม่หมายความรวมถึงอุบัติเหตุทางถนน

3. ให้มี คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ หรือ กปอ. มีหน้าที่และอำนาจดังนี้
    1) เสนอนโยบาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยต่อคณะรัฐมนตรี
    2) เสนอแนะแนวทางปฏิบัติ และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐซึ่งรับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วไปดำเนินการ
    3) จัดทำข้อเสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
    4) เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัย
    5) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัย
    6) แต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อพิจารณา ให้คำปรึกษา และปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ กปอ. มอบหมาย
    7) ปฏิบัติการในเรื่องที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
    8) แต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ กปอ. มอบหมาย

4. องค์ประกอบของ กปอ. ประกอบด้วย
    1) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
    2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ
    3) กรรมการโดยตำแหน่ง ดังนี้
         3.1) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
         3.2) ปลัดกระทรวงกลาโหม
         3.3) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
         3.4) ปลัดกระทรวงคมนาคม
         3.5) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
         3.6) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         3.7) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
         3.8) ปลัดกระทรวงแรงงาน
         3.9) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
         3.10) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
         3.11) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
         3.12) อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
         3.13) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
         3.14) ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
         3.15) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
    4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์หรือมีผลงานด้านการป้องกันอุบัติภัย จำนวนไม่เกิน 4 คน
    5) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้แต่งตั้งข้าราชการในกรมไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ทำหน้าที่ สำนักงานเลขานุการของ กปอ. โดยมีหน้าที่ ดังนี้
    1) เป็นหน่วยงานกลางด้านการเสนอแนะแนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุบัติภัย รวมทั้งการประสานงาน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วรายงานต่อ กปอ.
    2) สนับสนุนและส่งเสริมงานวิชาการ และเผยแพร่งานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติภัย และสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม การประชุม หรือสัมมนาเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัย
    3) เป็นศูนย์กลางข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับอุบัติภัย
    4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการป้องกันอุบัติภัยของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
    5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ กปอ. มอบหมาย

6. ผู้รักษาการตามระเบียบนี้คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

#นักเรียนกฎหมาย
4 กุมภาพันธ์ 2564

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)