หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งผิดพลาดร้ายแรง ถือว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.47/2546 ประชุมใหญ่)


คดีปกครองเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกได้กำหนดค่าปรับผู้รับจ้างต่ำกว่าข้อกำหนดในประกาศสอบราคา เป็นเหตุทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย 

หน่วยงานของรัฐ (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และมีความเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และผู้ถูกฟ้องคดีก็ไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามนัยมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การที่ผู้ถูกฟ้องคดี มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้เงินจากความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ และขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ถือเป็นการกระทำที่มีลักษณะผิดพลาดอย่างชัดแจ้งและร้ายแรงในทางกฎหมาย จึงถือเสมือนว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองจึงไม่จำต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เพราะคำสั่งนั้นย่อมไม่มีผลบังคับตามกฎหมายอยู่ในตัว

ที่มา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.47/2546 ประชุมใหญ่. สำนักงานศาลปกครอง, รวมคำวินิจฉัยที่พิจารณาจากที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2562, เล่ม 2 หน้า 638 - 643

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)