ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะกำหนดโทษ จึงไม่ต้องให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387/2563)


ในคดีอาญาหากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะกำหนดโทษได้แล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาล

คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 336 ทวิจำเลยให้การรับสารภาพ 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (8) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้วางโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาขอให้มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยนั้น เห็นว่า ในคดีอาญาเมื่อศาลเห็นสมควรจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยหรือไม่ก็ได้ อันเป็นดุลพินิจของศาล ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องสืบเสาะและพินิจจำเลยทุกเรื่องไป เมื่อศาลเห็นว่าคดีนี้มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยได้ จึงไม่จำต้องสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน

ที่มา 
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387/2563

- พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559
  มาตรา 4
บัญญัติว่า "ในพระราชบัญญัตินี้
  ...
  "การสืบเสาะและพินิจ" หมายความว่า การแสวงหาข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ เพื่อประมวลข้อเท็จจริง จัดทำรายงาน และความเห็นเสนอประกอบการพิจารณาของศาล หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (ชุดที่ 1)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)