ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนด ต่อมาสั่งรับฎีกา จึงไม่ชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565)
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) , มาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) , มาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 242 "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความทั้งปวง หรือสืบพยานต่อไป ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการหนึ่งในสี่ประการนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้อง วินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์"
มาตรา 252 "ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 250 กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15 "วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้"
มาตรา 245 "ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 246 , 247 และ 248 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสํานวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์คําพิพากษานั้น และคําพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน"
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 242 "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความทั้งปวง หรือสืบพยานต่อไป ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการหนึ่งในสี่ประการนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้อง วินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์"
มาตรา 252 "ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 250 กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15 "วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้"
มาตรา 245 "ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 246 , 247 และ 248 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสํานวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์คําพิพากษานั้น และคําพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น