นักเรียนกฎหมาย บน LINE รับลิงก์ Facebook Twitter Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ - กรกฎาคม 30, 2561 นักเรียนกฎหมาย ได้เปิดใช้งานบน LINE สำหรับผู้ที่สะดวกในการใช้งาน LINE Application โดยสามารถเพิ่มเพื่อน ด้วยวิธีการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) นี้ ง่ายๆ เท่านี้ ทุกท่านก็จะได้รับข้อมูล ข่าวสาร และบทความที่น่าสนใจ ***ใช้งานฟรี ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น*** รับลิงก์ Facebook Twitter Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ ความคิดเห็น
การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย - กรกฎาคม 31, 2561 การส่งเด็กเข้าเรียนในการศึกษาภาคบังคับ เป็นไปตาม "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2546" และ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติสำหรับผู้ที่มิใช่ผู้ปกครองซึ่งมีเด็กที่มีอายุในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับอาศัยอยู่" ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คำว่า "เด็ก" หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว 2. ผู้ปกครอง คือ 2.1 บิดามารดา 2.2 บิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง 2.3 ผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2.4 บุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน 3. ผู้ปกครองดังกล่าว มีหน้าที่ ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาในวันแรกของการเปิดเรียนภาคต้น (ภาคเรียนที่ 1) 4. กรณีผู้ปกครองยังไม่ได้ส่งเด็กเข้าเรียนภายใน 7 วัน นับแต่วันแรกของการเปิดเรียนภาคต้น ถ้าสถานศึกษายังมิได้รับเด็กเข้าเรียน 4.1 สถานศึก Read more »
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 - มกราคม 30, 2564 ***ปรับปรุงใหม่ 13ก.ค.2565 เพิ่มข้อสอบข้อ 16 - 31 ครับ*** ข้อ 1 นาย เอ ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ของเทศบาลบี ปฏิบัติหน้าที่ขับรถเก็บขยะมูลฝอยด้วยความประมาทชนท้ายรถยนต์ของนาย ซี ทำให้รถยนต์ของนาย ซี เสียหาย จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ ถูกต้อง ก. นาย เอ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข. การกระทำของนาย เอ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ค. เทศบาลบี เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ นาย เอ ได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ง. นายซี มีอำนาจฟ้องเทศบาลบี ต่อศาลปกครอง ข้อ 2 การกำหนดหน่วยงานอื่นของรัฐให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต้องออกเป็นกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. พระราชกำหนด ง. กฎกระทรวง ข้อ 3 ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. การกระทำโดยจงใจ คือ รู้สำนึกถึงการกระทำว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ข. การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คือ ไม่มีเจตนา แต่พึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น และหากใช้ความระมัดระวังเพียงเล็กน้อย ก็อาจป้ Read more »
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1) - พฤษภาคม 25, 2564 ข้อ 1 การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องออกเป็นกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด ค. พระราชกฤษฎีกา ง. กฎกระทรวง ข้อ 2 กฎหมายตามข้อ 1 กำหนดหน่วยงานและกิจการใดที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ก. หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ข. กิจการด้านการศึกษา ค. กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 3 โดยหลัก ทั่วไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับตั้งแต่วันใด ก. 26 พฤษภาคม 2562 ข. 27 พฤษภาคม 2562 ค. 28 พฤษภาคม 2562 ง. 29 พฤษภาคม 2562 ข้อ 4 "บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล" คือความหมายตามข้อใด ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 5 ผู้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและส Read more »
โครงสร้างรัฐธรรมนูญ'60 - ตุลาคม 26, 2561 การศึกษาโครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายอื่นๆ มีความสำคัญมาก ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของกฎหมายนั้น สามารถศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาบทบัญญัติต่าง ๆ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (2560) มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 279 มาตรา แบ่งออกเป็น 16 หมวด และบทเฉพาะกาลอีก 18 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-5) หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 6-24) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 25-49) หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย (มาตรา 50) หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ (มาตรา 51-63) หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ (มาตรา 64-78) หมวด 7 รัฐสภา (มาตรา 79-157) ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 79-82) ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 83-106) ส่วนที่ 3 วุฒิสภา (มาตรา 107-113) ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง (มาตรา 114-155) ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา (มาตรา 156-157) หมวด 8 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 158-183) หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา 184-187) หมวด 10 ศาล (มาตรา 188-199) ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 188-1 Read more »
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ) - พฤษภาคม 01, 2565 ข้อ 1 กฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้ "แผนการศึกษาแห่งชาติ" ต้องมีการบูรณาการเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นเรื่องใด ก. ศาสนา ข. วัฒนธรรม ค. กีฬา ง. เศรษฐกิจ ข้อ 2 หน่วยงานใดมีหน้าที่โดยตรงในการเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ ก. คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ข. คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ค. สภาปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ ง. สภาการศึกษา ข้อ 3 ข้อใด ไม่ใช่ การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ก. ส่วนกลาง ข. ส่วนภูมิภาค ค. เขตพื้นที่การศึกษา ง. สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่น ข้อ 4 กระทรวงศึกษาธิการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด ก. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ข. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ง. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ข้อ 5 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล ข. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีฐานะเป็นกรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษ Read more »
ความเข้าใจผิดของโรงเรียน เกี่ยวกับการลงโทษนักเรียน 5 สถาน - สิงหาคม 17, 2561 บทความนี้สืบเนื่องมาจากเรื่อง หลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งผมเคยได้รับการสอบถามจากนิติกรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดการลงโทษไว้ 4 สถาน หรือ 5 สถาน และต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง สภาพปัญหาที่พบ คือ พบว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งมีการกำหนดโทษไว้ 4 สถาน คือ 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. ทำทัณฑ์บน 3. ตัดคะแนนความประพฤติ 4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากนี้บางเว็บไซต์มีการระบุว่า ระเบียบดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้ชื่อว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550" ซึ่งเพิ่มการลงโทษอีก 1 สถาน คือ "พักการเรียน" ทำให้การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้ 5 สถาน โดยเรียงจากโทษน้อยไปหามากดังนี้ 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. ทำทันบน 3. ตัดคะแนนความประพฤติ 4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5. พักการเรียน รวมทั้ง ยังปรากฏข้อมูลว่า สถานศึกษาหลายแห่งได้กำหนดระเบียบวิน Read more »
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5) - กรกฎาคม 17, 2565 ข้อ 41 Right to Rectification คือ ? ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ง. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อ 42 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักการข้อใด ก. ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ข. สมบูรณ์ ค. ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 43 มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ก. ร้องทุกข์ ข. ร้องเรียน ค. อุทธรณ์ ง. ฟ้องร้อง ข้อ 44 หลักการสำคัญของสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อใด ก. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลลบข้อมูลส่วนบุคคล ข. ขอให้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ค. ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 45 เงื่อนไข ในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง ก. ข้อมูลหมดความจำเป็นในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ ข. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์ ค. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ง. ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกใช้ประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎ Read more »
แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3) - มิถุนายน 06, 2564 ข้อ 21 การตรวจสอบข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการที่ได้รับในระบบอีเมลของส่วนราชการ จะต้องตรวจสอบตามข้อใด ก. อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ข. อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ค. ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง ในเวลาราชการ ง. ไม่น้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง ในเวลาราชการ ข้อ 22 กรณีส่วนราชการได้รับอีเมลภายหลังเวลา 16.30 นาฬิกา จะต้องแจ้งยืนยันการได้รับอีเมลโดยการตอบกลับ (reply) ตามเวลาในข้อใด ก. ภายใน 1 ชั่วโมง นับแต่ได้รับอีเมล ข. ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่ได้รับอีเมล ค. ไม่เกิน 10.00 นาฬิกา ของวันทำการถัดไป ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 23 ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือราชการเพื่อส่งทางอีเมล ก. ชื่อไฟล์ให้ใช้เลขอารบิก ข. ต้องแปลงหนังสือให้เป็นไฟล์ PDF ค. ไฟล์ต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi ง. ชื่อไฟล์ให้ใช้เครื่องหมายขีดล่าง (_) แทนการเว้นวรรค ข้อ 24 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีทะเบียนหนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำหนดใช้บังคับเมื่อใด ก. ตั้งแต่ 26 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป ข. ตั้งแต่ 23 ส Read more »
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 1) - ธันวาคม 19, 2562 ข้อ 1 บทบัญญัติลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ถูกยกเลิกโดยกฎหมายใด ก. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ข. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ค. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ง. พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ข้อ 2 ข้าราชการคนใดถือเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ก. วิทยากร สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ข. ครู สังกัดโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ค. ทหาร สังกัดฐานทัพเรือสัตหีบ ง. นักวิชาการที่ดิน สังกัดสำนักงานที่ดินจังหวัดตาก ข้อ 3 ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก. เลขาธิการ ก.พ. ข. นายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ไม่มีข้อถูก ข้อ 4 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตราขึ้นโดยความเห็นชอบของใคร ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐสภา ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ง. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ 5 ปัจจุบันโครงสร้างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเ Read more »
ลักษณะของสัญญาจำนอง - ธันวาคม 10, 2562 ความหมายของสัญญาจำนอง ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 ที่บัญญัติว่า "อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่" จากบทบัญญัติดังกล่าว สามารถแยกพิจารณาลักษณะสำคัญได้ 5 ประการดังนี้ 1. ผู้จำนองอาจเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือบุคคลที่สามก็ได้ - การจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน ไม่ใช่การเอาบุคคลมาเป็นประกันการชำระหนี้ ดังนั้น ผู้จำนองจึงอาจเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือเป็นบุคคลที่สามก็ได้ - หนี้ประธานที่มีอยู่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้น จะเกิดจากสัญญาหรือละเมิดก็ได้ - หนี้ประธานจะเป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนอง หรือจะเป็นหนี้ที่จะมีขึ้นในอนาคตก็ได้ 2. เป็นการเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ - เป็นการนำเอกสารที่แสดงถึงส Read more »
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น