สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

          ปัจจุบันสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือภาพยนตร์ ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อจากอินเทอร์เน็ตและเกมทั้งแบบ Online และ Offline มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมพบว่าเด็กไทยใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ วันละ 6-8 ชั่วโมง 

        ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ได้ตราขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม

        โดยคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ 5 ประเภท คือ
        1. มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง
        2. มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ
        3. มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
        4. มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย
        5. มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ หรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้นๆ



ข้อสังเกตุของผู้เขียน
          ลักษณะของสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ตามประกาศของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว เป็นเพียงกลไกที่จะส่งเสริมให้เกิดสื่อที่มี "คุณภาพ" และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยกองทุนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เท่านั้น ไม่มีผลต่อสื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการกระทำผิดกฎหมาย เช่น หลอกลวงหรือลักลอบขโมยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้สื่อ ที่ผู้ใช้งานจำนวนมากมักจะใช้ "สื่อไม่มีคุณภาพ" มากกว่า "สื่อคุณภาพ" 
#นักเรียนกฎหมาย
6 สิงหาคม 2561


อ้างอิง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 6)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)