โครงสร้างและนิยามศัพท์ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561


พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ฉบับใหม่นี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 92 ก/หน้า 1/11 พฤศจิกายน 2561 คลิกดาว์นโหลดไฟล์ 

โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป และมีผลเป็นการยกเลิกกฎหมายเก่า พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 203 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2515 ด้วย 

โครงสร้างทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น บทบัญญัติเบื้องต้น บทบัญญัติเนื้อหา 8 หมวด และ 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 61 มาตรา ดังนี้
    บทบัญญัติเบื้องต้น  (มาตรา 1 - มาตรา 5)
    หมวด 1 บททั่วไป  (มาตรา 6 - มาตรา 9)
    หมวด 2 ลักษณะของงบประมาณ  (มาตรา 10 - มาตรา 18)
    หมวด 3 หน้าที่และอำนาจของผู้อำนวยการ  (มาตรา 19 - มาตรา 22)
    หมวด 4 การจัดทำงบประมาณ  (มาตรา 23 - มาตรา 32)
                 ส่วนที่ 1 การขอตั้งงบประมาณรายจ่าย  (มาตรา 25 - มาตรา 30)
                 ส่วนที่ 2 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ  (มาตรา 31 - มาตรา 32)
    หมวด 5 การบริหารงบประมาณรายจ่าย  (มาตรา 33 - มาตรา 36)
    หมวด 6 การควบคุมงบประมาณ  (มาตรา 37 - มาตรา 45)
    หมวด 7 การประเมินผลและการรายงาน  (มาตรา 46 - มาตรา 51)
                 ส่วนที่ 1 การประเมินผล  (มาตรา 46 - มาตรา 48)
                 ส่วนที่ 2 การรายงาน  (มาตรา 49 - มาตรา 51)
    หมวด 8 ความรับผิด  (มาตรา 52)
    บทเฉพาะกาล  (มาตรา 53 - มาตรา 61)

บทนิยามศัพท์ พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ ได้ให้นิยามความหมายไว้ทั้งสิ้น 15 คำ ดังนี้
    "งบประมาณรายจ่าย" หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย

    "งบประมาณรายจ่ายข้ามปี" หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่มีระยะเวลาการใช้ได้ไม่เกินปีงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหดนไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย

    "กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย" หมายความว่า พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย แล้วแต่กรณี

    "ปีงบประมาณ" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้น เป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น

    "เงินนอกงบประมาณ" หมายความว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใด ที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง

    "หนี้" หมายความว่า ข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายหรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นข้อผูกพันอันเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อหรือการจ้างโดยใช้เครดิตหรือจากการอื่นใด

    "เงินจัดสรร" หมายความว่า ส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายที่แบ่งสรรให้จ่าย หรือให้ก่อหนี้ผูกพันในระยะเวลาหนึ่ง

    "หน่วยรับงบประมาณ" หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ขอรับ หรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และให้หมายความรวมถึง สภากาชาดไทยด้วย

    "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า
    (1) ส่วนราชการ
    (2) รัฐวิสาหกิจ
    (3) หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมูญ และองค์กรอัยการ
    (4) องค์การมหาชน
    (5) ทุนหมุนเวียนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
    (6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    (7) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด

    "ส่วนราชการ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม และให้หมายความรวมถึงจังหวัด และกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินด้วย

    "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า
    (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
    (2) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
    (3) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (1) หรือ (2) หรือที่รัฐวิสาหกิจตาม (1) และ (2) หรือที่รัฐวิสาหกิจตาม (2) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

    "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง

    "คลัง" หมายความว่า ที่เก็บรักษาเงินแผ่นดินของกระทรวงการคลัง และให้หมายความรวมถึง บัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการนี้ด้วย

    "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

    "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    
สำหรับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีอำนาจออกระเบียบต่างๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566