ประเภทและระดับตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช.

          ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 ออกตามความในประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เป็นการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. รวมถึงกำหนดประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
          1. เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
          2. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม
          3. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งทั่วไป

1. เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. 
    1.1 ถือเป็นตำแหน่งเทียบเท่าหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
    1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ เป็นกลาง มีจริยธรรมที่ดี และปราศจากอคติทั้งปวง และมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด (ข้อ 25 ของระเบียบ)
    1.3 มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ในตำแหน่งทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ในตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรมและตำแหน่งทั่วไป
    1.4 วิธีการได้มา เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
    1.5 การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ แล้วเสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
    1.6 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
    1.7 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
          1) ครบวาระ
          2) ตาย
          3) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 25 และข้อ 32 ข.
          4) ลาออก
          5) คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะไม่ผ่านการประเมินตามระเบียบหรือประกาศที่ กปปช. กำหนด
    1.8 กรณีเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ้นตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน้จบำนาญข้าราชการ หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระโดยลาออก และกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคับทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะไม่ผ่านการประเมินตามระเบียบหรือประกาศที่ กปปช. กำหนด ให้บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักงาน ป.ป.ช. หรือตำแหน่งอื่นใดซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่า โดยให้ได้รับอัตราเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่ง และค่าตอบแทนหรือสิทธิและประโยชน์อื่นใดตามที่ กปปช. กำหนด

2. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม
    2.1 ตำแหน่งประเภทบริหารงานยุติธรรม คือ
          1) นักบริหารงานยุติธรรม ป.ป.ช. ระดับสูง ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค
          2) นักบริหารงานยุติธรรม ป.ป.ช. ระดับต้น ได้แก่ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค
    2.2 ตำแหน่งประเภทอำนวยการยุติธรรม มีตำแหน่งอำนวยการยุติธรรม ระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนัก และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด
    2.3 ตำแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม ได้แก่
          1) ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน
          2) พนักงานไต่สวน ระดับต้น
          3) พนักงานไต่สวน ระดับกลาง
          4) พนักงานไต่สวน ระดับสูง
          5) พนักงานไต่สวนผู้เชี่ยวชาญ
          6) พนักงานไต่สวนผู้ทรงคุณวุฒิ
    2.4 ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ต้องเป็นผู้มีพื้นฐานความรู้สำเร็จการศึกษาระดับตั้งแต่ปริญญาโททางกฎหมายขึ้นไป หรือสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย และปริญญาสาขาอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งนี้ จะต้องมีความรู้และประสบการณืที่เป็นประโยชน์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย หรือการดำเนินคดีในชั้นศาล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
    2.5 ปริญญาสาขาอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แก่ปริญญาในสาขาดังนี้
          1) ปริญญาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมไฟฟ้า
          2) ปริญญาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
          3) ปริญญาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางนิติวิทยาศสตร์
          4) ปริญญาสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางการบัญชี
          5) ปริญญาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
          6) ปริญญาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางการเงิน หรือทางการเงินและการธนาคาร
          7) ปริญญาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม หรือทางการบริหารงานยุติธรรม
          8) ปริญญาสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางรัฐศาสตร์ หรือทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือทางบริหารรัฐกิจ
          9) ปริญญาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือทางภูมิศาสตร์ หรือทางวิทยาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือทางสารสนเทศภูมิศาสตร์
          10) ปริญญาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์ หรือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
          11) ปริญญาสาขาหรือทางอื่นตามที่ กปปช. ประกาศกำหนด
ทั้งนี้ ปริญญาสาขาอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ให้รวมถึงปริญญาในสาขาหรือทางอื่นในลักษณะทนองเดียวกันหรือเทียบได้กับปริญญาที่กำหนดดังกล่าวตามที่ กปปช. รับรอง
    2.6 ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ข้อ 32 ข.) ดังนี้
          1) คุณสมบัติทั่วไป
              - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
              - มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
              - เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
              - เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต
              - เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กปปช. กำหนด
          2) ลักษณะต้องห้าม
              - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
              - เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือถูกถอนถอนออกจากตำแหน่ง
              - เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกดดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทาสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
              - เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
              - เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักงาน หรือพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามระเบียบนี้หรือตามกฎหมายอื่น
              - เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
              - เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
              - เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
              - เป็นผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              - เป็นบุคคลล้มละลาย
              - เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. หรือเป็นโรคตามที่ กปปช. กำหนด

3. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งทั่วไป
    3.1 ตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
          1) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
              - นักบริหารงาน ป.ป.ช. ระดับสูง ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค และผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช.
              - นักบริหารงาน ป.ป.ช. ระดับต้น ได้แก่ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค
          2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด
          3) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
              - ระดับปฏิบัติการ
              - ระดับชำนาญการ
              - ระดับชำนาญการพิเศษ
              - ระดับเชี่ยวชาญ
              - ระดับทรงคุณวุฒิ
          4) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
              - ระดับปฏิบัติงาน
              - ระดับชำนาญงาน
              - ระดับอาวุโส
    3.2 ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
          1) คุณสมบัติทั่วไป
              - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
              - มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
              - เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
              - เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต
          2) ลักษณะต้องห้าม
              - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
              - เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือถูกถอนถอนออกจากตำแหน่ง
              - เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกดดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทาสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
              - เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
              - เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักงาน หรือพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามระเบียบนี้หรือตามกฎหมายอื่น
              - เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
              - เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
              - เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
              - เป็นผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              - เป็นบุคคลล้มละลาย
              - เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. หรือเป็นโรคตามที่ กปปช. กำหนด

ที่มา  ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561

#นักเรียนกฎหมาย
8 พฤศจิกายน 2561

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)