โครงสร้างประมวลกฎหมายยาเสพติด


ประมวลกฎหมายยาเสพติด เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ และสารระเหย ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีบทบัญญัติรวม 186 มาตรา โดยมีโครงสร้างกฎหมายดังนี้

ภาค 1 การป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด

ลักษณะ 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 2 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
    หมวด 1 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
    หมวด 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
    หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

ลักษณะ 3 การควบคุมยาเสพติด
    หมวด 1 บทบัญญัติทั่วไป
    หมวด 2 คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด
    หมวด 3 ประเภทของยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์
    หมวด 4 การอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์
        ส่วนที่ 1 ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งไม่ต้องขออนุญาต
        ส่วนที่ 2 การอนุญาตโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
        ส่วนที่ 3 การอนุญาตโดยผู้อนุญาต
        ส่วนที่ 4 การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
    หมวด 5 การขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และการขึ้นทะเบียนตำรับวัตถุออกฤทธิ์
    หมวด 6 ยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ปลอม ผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ
    หมวด 7 มาตรการควบคุมพิเศษ

ลักษณะ 4 การตรวจสอบทรัพย์สิน
    หมวด 1 คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
    หมวด 2 มาตรการตรวจสอบทรัพย์สิน
    หมวด 3 มาตรการตรวจสอบทรัพย์สินตามมูลค่า
    หมวด 4 กองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด

ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือนำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์

ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับสารระเหย

ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับ

ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดและการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ

ภาค 2 การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด
ลักษณะ 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 2 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

ลักษณะ 3 การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

ลักษณะ 4 การฟื้นฟูสภาพทางสังคม

ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

ภาค 3 บทกำหนดโทษ
ลักษณะ 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 2 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการอนุญาตสำหรับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์

ลักษณะ 3 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ปลอม ผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ

ลักษณะ 4 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือนำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์

ลักษณะ 5 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับสารระเหย

ลักษณะ 6 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับ

ลักษณะ 7 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการเสพยาเสพติด และการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ

ลักษณะ 8 บทกำหนดโทษสำหรับการจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือใช้กำลังบังคับให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด

ลักษณะ 9 บทกำหนดโทษสำหรับความผิดต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. รองเลขาธิการ ป.ป.ส. เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และพนักงานเจ้าหน้าที่

ลักษณะ 10 บทกำหนดโทษสำหรับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

ลักษณะ 11 บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

ลักษณะ 12 การบังคับโทษปรับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 (ว่าด้วยสุรา)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539