การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการ ต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 ประชุมใหญ่)


การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการของข้าราชการ จะต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 (ประชุมใหญ่)

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นข้าราชการ ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อถูกสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ก็ไม่ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และเมื่อถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ก็ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด จึงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันในช่วงที่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการไป

สำหรับปัญหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการจำนวนเท่าใด นั้น ผู้ฟ้องคดี (หน่วยงานของรัฐ) ได้ฟ้องเรียกเงินเดือน เงินค่าครองชีพ และเบี้ยกันดารสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการ เป็นเวลา 187 วัน คืนแก่ทางราชการ 

ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ในบางเดือนผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกันกับวันหยุดราชการ คือ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ถือได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีเจตนาละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกัน จึงต้องนับวันหยุดราชการรวมเป็นวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการด้วย ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ เป็นเวลารวม 216 วัน ไม่ใช่ 187 วัน ตามคำฟ้อง อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อาจพิพากษาเกินคำขอได้ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องชำระเงินตามคำขอให้แก่ผู้ฟ้องคดี

ที่มา สำนักงานศาลปกครอง. รวมคำวินิจฉัยที่พิจารณาจากที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2562 เล่ม 2 , หน้า 906 - 912

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)