ลูกจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


    "ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร" เป็นนิยามความหมายที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นอกจากนี้ศาลฎีกาได้มีแนวคำวินิจฉัยให้ความหมายของ "ลูกจ้าง" ไว้เพิ่มเติม ซึ่งพอจะสรุปความหมายโดยรวมของลูกจ้างได้ดังนี้

1. นายจ้างจะเป็นคนธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ 
    แต่ลูกจ้างจะต้องเป็นคนธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะเป็นลูกจ้างไม่ได้
    หากเป็นสัญญาจ้างระหว่างนิติบุคคลกับนิติบุคคล ถือเป็นสัญญาจ้างบริการหรือสัญญาประเภทอื่น ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายนี้

2. ลูกจ้างจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็ได้ เช่น 
    พนักงาน 
    ผู้รับงาน 
    ผู้ร่วมประกอบกิจการ 

3. ลูกจ้างหมายรวมทุกประเภท เช่น 
    ลูกจ้างทดลองงาน 
    ลูกจ้างชั่วคราว 
    ลูกจ้างประจำ 
    ลูกจ้างที่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนทั้งระยะสั้นและระยะยาว 
    ลูกจ้างทำงานไม่เต็มเวลา Part-time employee 
    ลูกจ้างสัญญาจ้างพิเศษ 
    ลูกจ้างทำงานบ้าน

4. ลูกจ้างดังกล่าวจะต้งออยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างด้วย
    หากมีอิสระ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบ ก็มิใช่ลูกจ้างตามกฎหมายนี้
    ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2548 วินิจฉัยว่า ผู้ถือหุ้นเข้าบริหารงานโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จะได้รับเงินเดือนและหักส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ก็ไม่มีฐานะเป็นลูกจ้าง

อ้างอิง
    ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ. วิชากฎหมายแรงงาน รวมคำบรรยายเนติบัณฑิต ภาค 1 สมัย 72 ปีการศึกษา 2562 เล่ม 1
#นักเรียนกฎหมาย
1 ธันวาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)