ผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียก ไม่ใช่การขัดขืนคำบังคับ แต่ต้องออกหมายจับ


   เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว

   ในชั้นสอบสวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 (เดิม) บัญญัติว่า ผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดหรือจะไม่เต็มใจให้การเลยก็ได้ แสดงชัดว่าพนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆ ไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย เห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การนั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168

   ส่วนกรณีที่ผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (3) (เดิม) ก็บัญญัติทางแก้ไว้ คือ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ อันเป็นการลงโทษผู้ต้องหาที่ขัดขืนหมายเรียกอยู่แล้ว

   ศาลฎีกาเห็นว่า เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนไม่ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามฟ้อง

อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509 (ประชุมใหญ่)
#นักเรียนกฎหมาย
27 ธันวาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (20 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566