เจตนารมณ์ของกฎหมายที่กำหนดให้มีคณะกรรมการ


   การที่กฎหมายบัญญัติให้การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องกระทำในรูปแบบของคณะกรรมการ ก็ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้การตัดสินใจมีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคลที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบกับบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับกิจการที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ อันจะทำให้การพิจารณาและตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความรอบคอบ คณะกรรมการจึงต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการได้

   ด้วยเหตุนี้ โดยหลักของการตัดสินใจในรูปแบบของคณะกรรมการนั้น บุคคลหนึ่งจึงไม่ควรทำหน้าที่เป็นกรรมการหลายตำแหน่งในคณะกรรมการชุดเดียวกัน เพราะจะทำให้มีผลกระทบต่อสัดส่วนจำนวนกรรมการที่ตัดสินใจในแต่ละองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่มีความจำเป็นบางประการอันมิได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะให้องค์ประกอบของคณะกรรมการผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ


อ้างอิง 

ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 665/2562 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
4 ธันวาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)