ผู้ขนส่งคนโดยสารต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญารับขนคนโดยสาร คือ สัญญาที่ผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนส่งคนจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และคนโดยสารก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าโดยสาร

ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องรับผิด หากเกิดความเสียหายแก่ตัวผู้โดยสาร หรือความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ เนื่องจากการชักช้าในการขนส่ง (เว้นแต่เหตุสุดวิสัย หรือความผิดนั้นเกิดขึ้นจากผู้โดยสารเอง) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้โดยสารดังกล่าว ครอบคลุมไปถึงความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โดยมีตัวอย่างคำพิพากษา เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2523 ขับรถตกคู เป็นเหตุให้คนโดยสารต้องตัดแขน ต้องใช้ค่าเสียหาย รวมถึงความเสียหายที่ต้องตัดข้อมือขวาแล้วใช้แขนเทียมแทน เสียความสามารถประกอบการงานไปโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน และค่าตกใจและกระทบกระเทือนจิตใจเพราะสูญเสียข้อมือขวา ซึ่งพอแปลความได้ว่าประสงค์เรียกร้องเอาค่าเสียหายเพราะเหตุที่ต้องถูกตัดข้อมือขวา เป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย ผู้โดยสารจึงมีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ

ที่มา 
- ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 บัญญัติว่า "ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือในความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ อันเป็นผลโดยตรงแต่การที่ต้องชักช้าในการขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสารนั้นเอง"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566