สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.)


สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงพระราชทานกำเนิดเนติบัณฑิตยสภา เพื่อส่งเสริมความรู้ในวิชานิติศาสตร์ และควบคุมมรรยาทของผู้ประกองวิชาชีพกฎหมาย รวมทั้งให้อนุเคราะห์แก่บุคคลผู้ยากจน หรือมีรายได้น้อย ได้มีโอกาสป้องกันสิทธิของตนและให้ประชาชนมีสิทธิได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายโดยเสมอภาคและทั่วหน้ากัน ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย 2 ประเภท คือ

1. การให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าบริการใด ๆ ซึ่ง ส.ช.น. ได้จัดให้มีทนายความอาสา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาประจำทุกวันในเวลาราชการ สำหรับประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถเดินทางมาขอรับคำปรึกษาด้วยตนเอง หรือทางโทรศัพท์ 02-887-6811 , 02-887-6801-7 ต่อ 104, 108, 109

2. การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี ทั้งคดีแพ่ง อาญา หรือเรื่องอื่นใด โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องเสียให้แก่ศาลหรือทางราชการ เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้องคำขอ ค่าอ้างเอกสาร หรือส่งหนังสือ ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร ค่าคัดสำเนา หรือถ่ายเอกสาร เป็นต้น) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
  1) ประชาชนร้องขอด้วยความสุจริตและเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  2) เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีฐานะยากจน
  3) เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และ
  4) รูปคดีทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงสามารถให้ความช่วยเหลือได้

ที่มา สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, กฎหมายน่ารู้ ฉบับคู่มือประชาชน (พฤษภาคม 2564)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539