แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 6)


ข้อ 51 หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ดำเนินการตามคำขอ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร
ก. ร้องเรียน
ข. ร้องทุกข์
ค. อุทธรณ์
ง. กล่าวโทษ

ข้อ 52 สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 ข้อใดไม่สอดคล้อง
ก. ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
ข. ข้อมูลสามารถอ่านได้โดยทั่วไป
ค. เก็บข้อมูลเป็นเอกสาร
ง. ใช้งานได้โดยอัตโนมัติ

ข้อ 53 ข้อยกเว้น Right of Data Portability
ก. ประโยชน์สาธารณะ
ข. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ค. ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 54 สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดถูกต้อง
ก. ไม่ต้องร้องขอ
ข. ใช้สิทธิเมื่อใดก็ได้
ค. ภายใน 1 ปี
ง. ไม่มีข้อจำกัดสิทธิ

ข้อ 55 กรณีใดไม่สามารถใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ก. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
ข. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ค. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย
ง. เป็นข้อมูลเพื่อวิจัยหรือสถิติในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ข้อ 56 ข้อใดคือหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อมีการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมุลส่วนบุคคล
ก. ยุติการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมุล
ข. แยกข้อมูลที่ถูกคัดค้านออกจากข้อมูลส่วนอื่น
ค. ยับยั้งการโอนข้อมูลส่วนบุคคล
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

ข้อ 57 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม คือใคร
ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ เจ้าหน้าที่
ข. บุคคล กับ นิติบุคคล
ค. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ง. เจ้าหน้าที่ กับ ผู้ประมวลผล

ข้อ 58 แนวคิดตามข้อ 57 ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายใด
ก. General Data Protection Regulation : GDPR
ข. Federal Trade Commission : FTC
ค. California Consumer Privacy Act 2018 : CCPA
ง. Health Insurance Portability and Accountability Act

ข้อ 59 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับกับกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกประเทศไทย ยกเว้นข้อใด
ก. เฝ้าติดตามพฤติกรรมเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ข. เสนอสินค้าให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย
ค. เสนอบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่มีการชำระเงิน
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ข้อ 60 ข้อยกเว้นการใช้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ข้อใดไม่สอดคล้อง
ก. เพื่อประโยชน์ส่วนตน
ข. เพื่อกิจกรรมในครอบครัว
ค. ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
ง. ไม่มีข้อใดถูก

เฉลย
ข้อ 51 ตอบ ก. มาตรา 34 วรรคสอง หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการตามคำขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสั่งให้ดำเนินการได้
ข้อ 52 ตอบ ค. มาตรา 31 รับรองสิทธิการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้โดยทั่วไป หรือโดยอัตโนมัติ หรือเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่รวมถึงข้อมูลที่เก็บเป็นเอกสาร
ข้อ 53 ตอบ ง. มาตรา 31 วรรคสาม เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่สามารถใช้สิทธิขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลได้ 3 กรณี ได้แก่ 1. เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ 2. จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายไม่ได้ และ 3. เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
ข้อ 54 ตอบ ข. มาตรา 32 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (การประมวลผล หมายถึง การเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล) ที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้
ข้อ 55 ตอบ ง. มาตรา 32 โดยหลักเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อใดก็ได้ ในเรื่องต่อไปนี้
  1. เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 24 (4)) หรือเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 24 (5)) เว้นแต่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลแสดงเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่าหรือเหตุผลเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามกฎหมาย
  2. เป็นข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง 
  3. เป็นข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ศึกษาวิจัย ประวัติศาสตร์ สถิติ เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  * มีข้อยกเว้น 2 ประการข้างต้น ที่ไม่สามารถใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้
ข้อ 56 ตอบ ง. มาตรา 32 วรรคสอง เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้สิทธิคัดค้านแล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องยุติการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูล และแยกข้อมูลที่ถูกคัดค้านออกจากข้อมูลส่วนอื่นทันที
ข้อ 57 ตอบ ค. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้รับแนวคิดมาจาก General Data Protection Regulation (GDPR) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป
ข้อ 58 ตอบ ก. ดูคำตอบข้อ 57
ข้อ 59 ตอบ ง. มาตรา 5 ขอบเขตการใช้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังนี้
  1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในประเทศไทย ใช้กับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด (ไม่ว่าจะทำการเก็บรวบรวมฯ ในหรือนอกประเทศ)
  2. กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกประเทศไทย ใช้บังคับเฉพาะกิจกรรม 2 ประเภท คือ
    2.1 การเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม
    2.2 การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ข้อ 60 ตอบ ง. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (1) (6) ข้อ ก. ข. และ ค. เป็นข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับตามกฎหมายนี้

***ลิ้งก์แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562***
***อ่านเพิ่มเติม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (คลิกลิงก์)*** 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)