สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1)


สรุปคำบรรยายเนติ 1/75
วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1)
จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565
บรรยายโดย ศ. (พิเศษ) ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม
***************************

กฎหมายภาษีอากรแม้ว่าจะมีความยุ่งยากซับซ้อน เมื่อศึกษากฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ ให้ยึดหลักโครงสร้างกฎหมายทั้ง 6 ส่วน ก็จะช่วยให้มีความเข้าใจกฎหมายภาษีอากรได้เป็นอย่างดี

กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ จะมีโครงสร้างกฎหมาย 6 ส่วน ได้แก่
1. ผู้เสียภาษี (Tax Payer) 
กฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ จะกำหนดไว้ว่าใครมีหน้าที่เสียภาษี

2. ฐานภาษี 
(Tax Base) มี 4 ฐาน คือ ฐานรายได้ ฐานการบริโภค ฐานความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และฐานอื่น ๆ

3. อัตราภาษี 
(Tax Rate) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ อัตราคงที่ อันตราก้าวหน้า และอัตราถอยหลัง

4. วิธีเสียภาษี 
(Tax Payment) กฎหมายจะกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีโดยวิธีใด ซึ่งทั่วไปมี 3 วิธี คือ วิธีประเมินตนเอง วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน

5. วิธีระงับข้อพิพาท 
(Tax Settlement) หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วย ก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร หรืออุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ หรือขออนุญาตฎีกา

6. สภาพบังคับ 
(Sanction) ได้แก่ โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และการบังคับคดี

ในการศึกษากฎหมายภาษีอากรของเนติบัณฑิต จะออกข้อสอบเฉพาะประมวลรัษฎากรเท่านั้น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. อากรแสตมป์
โดยจะศึกษาเพียง 4 ประเภทแรก (ไม่รวมอากรแสตมป์) และข้อสอบจะออกอย่างน้อย 2 ประเภท บางปีออก 3 ประเภท และบางปีออกทั้ง 4 ประเภท

ก่อนที่จะได้ศึกษารายละเอียดของกฎหมายภาษีอากรทั้ง 4 ประเภท ให้ดูโครงสร้างกฎหมายก่อน
1. โครงสร้างกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี มี 5 ประเภท
  1.1 บุคคลธรรมดา
  1.2 ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี
  1.3 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  1.5 วิสาหกิจชุมชน
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
  2.1 เงินได้พึงประเมิน
  2.2 เงินได้สุทธิ (เงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน)
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
  3.1 อัตราก้าวหน้า
  3.2 อัตราคงที่
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
  4.1 ประเมินตนเอง
  4.2 หักภาษี ณ ที่จ่าย
  4.3 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
  5.1 ประเมิน
  5.2 อุทธรณ์
  5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับศาลภาษีอากรไว้ละเอียด จะต้องดู พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ เป็นหลัก และมีการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับอนุโลมด้วย
  5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
  6.1 โทษทางปกครอง (เบี้ยปรับ , เงินเพิ่ม)
  6.2 โทษทางอาญา (จำคุก , ปรับ)
  6.3 การบังคับคดี (ยึด , อายัด , ขายทอดตลาด) ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้กรมสรรพากรมีอำนาจยึด อายัด ขายทอดตลาดได้ โดยใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบ

2. โครงสร้างกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
  1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  1.3 บริษัทจำกัด
  1.4 บริษัทมหาชนจำกัด
  1.5 กิจการซึ่งดำเนินการเป็นการค้าฯ
  1.6 กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
  1.7 มูลนิธิ/สมาคม
  1.8 กองทุนรวม
  1.9 นิติบุคคลอื่น (ตลาดหลักทรัพย์ฯ)
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
  2.1 กำไรสุทธิ (รายได้หักรายจ่าย) เป็นกำไรสุทธิทางภาษี ไม่ใช่ทางบัญชี
  2.2 รายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ 
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
  3.1 อัตราคงที่
  3.2 อัตราก้าวหน้า
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
  4.1 ประเมินตนเอง
  4.2 หัก ณ ที่จ่าย
  4.3 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
  5.1 ประเมิน
  5.2 อุทธรณ์
  5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร 
  5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
  6.1 โทษทางปกครอง 
  6.2 โทษทางอาญา 
  6.3 การบังคับคดี

3. โครงสร้างกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
  1.1 ผู้ประกอบการ
  1.2 ผู้นำเข้า คนที่นำเข้าสินค้า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการ
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
  2.1 รายรับจากการขายสินค้า
  2.2 รายรับจากการให้บริการ
  2.3 มูลค่าสินค้าจากการนำเข้า
  2.4 มูลค่าสินค้าจากการส่งออก
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
  3.1 อัตรา 7%
  3.2 อัตรา 0%
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
  4.1 ประเมินตนเอง
  4.2 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
  (ไม่มีวิธีหัก ณ ที่จ่าย)
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
  5.1 ประเมิน
  5.2 อุทธรณ์
  5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร 
  5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
  6.1 โทษทางปกครอง 
  6.2 โทษทางอาญา 
  6.3 การบังคับคดี

4. โครงสร้างกฎหมายภาษีธุรกิจเฉพาะ
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
  1.1 กิจการธนาคารพาณิชย์
  1.2 กิจการเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์
  1.3 กิจการประกันชีวิต
  1.4 กิจการรับจำนำ
  1.5 การประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
  1.6 การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  1.7 การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (ปัจจุบันได้รับยกเว้นภาษี)
  1.8 การประกอบกิจการอื่นตามพระราชกฤษฎีกา
        1) กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
        2) ธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring)
  *จะเห็นได้ว่า ผู้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีเพียง 8 ประเภทเท่านั้น แต่กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เสียภาษีคือผู้ประกอบการทุกประเภท ซึ่งกว้างกว่า (หากเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็จะไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือหากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ก็จะไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
  รายรับก่อนหนักรายจ่ายใด ๆ (Gross Receipt)
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
  3.1 อัตรา 0.1%
  3.2 อัตรา 2.5%
  3.3 อัตรา 3.0%
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
  4.1 ประเมินตนเอง
  4.2 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
  (ไม่มีวิธีหัก ณ ที่จ่าย)
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
  5.1 ประเมิน
  5.2 อุทธรณ์
  5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร 
  5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
  6.1 โทษทางปกครอง 
  6.2 โทษทางอาญา 
  6.3 การบังคับคดี

*ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ ของกฎหมายภาษีอากรทั้ง 4 ประเภท จะเหมือนกัน

***จบการบรรยายครั้งที่ 1***
คลิกอ่าน ครั้งที่ 1 , 2 , 3 , 4

ที่มา YouTube บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ (คลิกลิงก์)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย