เพิ่มอีก 11 จังหวัด พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 กำหนดให้จังหวัดสุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฏร์ธานี และอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ
  1. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น
  2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
  3. กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2561 ได้มีการประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด ประกอบด้วย สตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวม 19 จังหวัด

หมายเหตุ กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาดังกล่าว 2 ครั้ง ครั้งแรก 5 จังหวัด และครั้งที่สอง 6 จังหวัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในคราวเดียวกัน ดังนี้
เสนอครั้งแรก
เสนอครั้งที่สอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566