ข้าราชการมีกรรมสิทธิ์ในเคหสถาน ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2565)

ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 (2) กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้สิทธิข้าราชการที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เบิกค่าเช่าบ้าน โดยไม่มีบทบัญญัติว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้เฉพาะในขณะที่ข้าราชการยื่นขอใช้สิทธิ 

ดังนี้ จึงต้องตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวย่อมต้องบังคับใช้ตลอดเวลาที่ข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ กล่าวคือ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านนั้นต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ตนไปประจำในช่วงเวลาที่ขอใช้สิทธินี้ หาใช่ตีความว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวบังคับใช้แต่เฉพาะเวลาที่ข้าราชการยื่นคำขอใช้สิทธิ แล้วข้าราชการผู้นั้นยังคงสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านได้ตลอดช่วงเวลาที่ประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่นั้นดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ 

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2416 พร้อมบ้านเลขที่ 146 ทั้งส่วนของบิดาและส่วนของน้องชายมาโดยไม่มีภาระหนี้เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว จำเลยย่อมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้อย่างสมบูรณ์ 

กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นว่า จำเลยมีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในท้องที่ที่ตนไปประจำ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยรับผิดคืนค่าเช่าบ้านแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น 

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน (เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ) 71,495 บาท พร้อมดอกเบี้ย..

ที่มา 
- ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

- พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547
  มาตรา 7 "ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มี สิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกิน จำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น
  (1) ...
  (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำ สำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน..."

ความคิดเห็น

  1. ขออนุญาตสอบถามใน ม.17(1) "บ้านหลังแรก" ครับ
    ในท้องที่เดียวกัน
    1.ภรรยา ยังผ่อนอาคารพาณิชย์ ปล่อยเช่า ไม่ได้อยู่จริง(มีมาก่อนสมรส)
    2.สามีจึงใช้สิทธิ์ ผ่อนบ้านอีกหลัง และอยู่จริง
    ..คำถาม..ต้องใช้สิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้านหลังใด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ภรรยาเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือไม่ครับ รบกวนติดต่อทาง e-mail : nawaratsirapipat@gmail.com จะได้สอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มด้วยครับ

      ลบ
  2. ไม่มีสิทธิ์ครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539