13 เม.ย. 2567 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท ในธุรกิจโรงแรม 10 จังหวัด

คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทโรงแรม เพื่อใช้สำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบกิจการประเภทกิจการโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป และมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป นำร่องในเขตพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง 10 จังหวัด โดยปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 400 บาท และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2567 ดังนี้

1. กรุงเทพมหานคร เฉพาะเขตปทุมวัน และเขตวัฒนา
2. จังหวัดกระบี่ เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง
3. จังหวัดชลบุรี เฉพาะเขตเมืองพัทยา
4. จังหวัดเชียงใหม่ เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
5. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน
6. จังหวัดพังงา เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก
7. จังหวัดภูเก็ต
8. จังหวัดระยอง เฉพาะเขตตำบลบ้านเพ
9. จังหวัดสงขลา เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เฉพาะเขตเทศบาลนครเกาะสมุย

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  มาตรา 79 "คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  (3) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ"
  มาตรา 87 "ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
  การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะกำหนดให้ใช้เฉพาะกิจการงานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้
  เพื่อเป็นการส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานสำหรับลูกจ้างบางกลุ่ม บางประเภท คณะกรรมการค่าจ้างอาจพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างจากที่พิจารณากำหนดในวรรคสอง เพื่อใช้สำหรับลูกจ้างกลุ่มนั้นหรือประเภทนั้นในกิจการ งาน หรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ค่าจ้างดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด"
  มาตรา 88 "เมื่อได้ศึกษาข้อมูลและพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 87 แล้ว ให้คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
  มาตรา 90 "เมื่อประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลุกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนด"
  มาตรา 144 "นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 90 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 4)