ใช้รถยนต์พาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เป็นการใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง (ฎ.719/2568 ประชุมใหญ่)
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์เก๋งของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบรถยนต์เก๋งของกลาง
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า รถยนต์เก๋งของกลางซึ่งเป็นของจำเลยเอง เป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรหลบหนีไปให้พ้นจากการจับกุม อันควรริบตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบรถยนต์เก๋งของกลาง
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า รถยนต์เก๋งของกลางซึ่งเป็นของจำเลยเอง เป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรหลบหนีไปให้พ้นจากการจับกุม อันควรริบตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 (5) เป็นโทษทางอาญาอีกสถานหนึ่งนอกเหนือจากโทษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ ดังนั้น หากศาลเห็นว่าทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ริบเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลงโทษริบทรัพย์นั้นเพื่อไม่ให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสใช้ทรัพย์ในการกระทำความผิดเช่นเดียวกันนั้นได้อีก และเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่คิดกระทำความผิดเช่นเดียวกันนี้ได้ด้วย
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้อง สำเนาบันทึกการจับกุมเอกสารแนบท้ายคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหา และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 จำเลยใช้รถยนต์เก๋ง ของกลางซึ่งเป็นของจำเลยเองจอดรออยู่บนดอยผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วรับคนต่างด้าวเชื้อชาติจีน สัญชาติจีน 2 คน ซึ่งเพิ่งเดินลัดเลาะมาจากภูเขาฝั่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเข้ามาในราชอาณาจักรไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ ขึ้นรถแล้วขับมุ่งหน้าไปยังอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างทางเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบรถยนต์เก๋งดังกล่าว พบจำเลยเป็นผู้ขับ และมีคนต่างด้าว 2 คน ที่หลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรนั่งโดยสารมาในรถด้วย
ดังนี้ การที่จำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางไปจอดรอบนดอยผาหมี ซึ่งเป็นภูเขาและเป็นแนวชายแดนของราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แล้วรับคนต่างด้าวที่เพิ่งเดินลัดเลาะมาจากภูเขาฝั่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ผ่านช่องทางธรรมชาติเข้ามาในราชอาณาจักรไทย หลบหนีไปทันที แสดงให้เห็นถึงการติดต่อนัดหมายวางแผนกันกับคนต่างด้าวไว้เป็นอย่างดีมาก่อน โดยจำเลยไปรอคอยและใช้รถยนต์เก๋งในการพาคนต่างด้าวหลบหนีเพื่อให้เกิดความสะดวกในการกระทำความผิด ทำให้การลักลอบนำพาคนต่างด้าวหลบหนีมีความแนบเนียนเสมือนเป็นการโดยสารรถยนต์ทั่วไป เพื่อให้พ้นการจับกุม
พฤติการณ์ในการใช้รถยนต์เก๋งของกลางของจำเลยในขณะกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่ใช่เป็นเพียงใช้เป็นพาหนะโดยสารโดยทั่วไป หากแต่เป็นการใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง อันควรริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เพื่อไม่ให้จำเลยมีโอกาสใช้ทรัพย์ในการกระทำความผิดเช่นเดียวกันนั้นได้อีก และเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่คิดกระทำความผิดเช่นเดียวกันนี้
ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น