การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของหน่วยงานของรัฐ

โดยหลักทั่วไป กระทรวงการคลังมีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง และกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความและการถอนฟ้องคดีในชั้นศาล ส่วนราชการผู้เป็นเจ้าของคดี จะต้องหารือกระทรวงการคลังก่อน

แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติกระทรวงการคลัง ไม่ได้เข้าร่วมเป็นคู่ความในคดี และไม่ทราบกระบวนการพิจารณาและฐานะคดีมาตั้งแต่แรก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดี และสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งขึ้น โดยให้ส่วนราชการเจ้าของคดีสามารถใช้ดุลยพินิจร่วมกับพนักงานอัยการในการพิจารณาเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความสำหรับคดีแพ่งบางประเภทได้ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2,000,000 บาท ไม่ว่าส่วนราชการจะเป็นโจทก์หรือจำเลย หากส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการผู้ดำเนินคดี มีความเห็นสอดคล้องเป็นประการใด ให้พิจารณาดำเนินการตามความเห็นดังกล่าวได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ และไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา

2, คดีตามข้อ 1 หากส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการผู้ดำเนินคดี มีความเห็นไม่ตรงกัน ให้ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา

3. คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกิน 2,000,000 บาท ให้ส่วนราชการเจ้าของคดีส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 1)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (ฉบับเตรียมสอบ)