การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีอาญาเพื่อใช้ค่าปรับ


โดยหลักทั่วไป การดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานของรัฐก็ตาม โดยหน่วยงานของรัฐในฐานะเป็นเจ้าหนี้ จะดำเนินการบังคับคดีเพื่อบังคับชำระหนี้และนำส่งเงินเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ก็มีภาระในการชำระค่าธรรมเนียมหรือเสียค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่

อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีอาญาเพื่อชำระค่าปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2559 ได้บัญญัติหลักการเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับได้ ทั้งนี้มาตรา 29/1 วรรคสอง บัญญัติมิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี

จึงเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ เพราะการบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับคดีแพ่ง ล้มละลาย หรือคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม ทรัพย์สินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ จึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมต่อไปครับ


ที่มา 
- ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า 
  "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกัน หรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้"

มาตรา 29/1 บัญญัติว่า 
  "ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ
  การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับ และขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี
  การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับโดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของอัยการสูงสุด
  บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)