แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (20 ข้อ)


ข้อ 1 ข้อใดคือความหมายของคำว่า "รัฐบาลดิจิทัล"
ก. การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณะด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ข. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน การให้บริการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ
ค. วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่ง เพื่อใช้สร้างระบบต่าง ๆ 
ง. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

ข้อ 2 การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะผ่านระบบดิจิทัล ต้องมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก. ให้มีการใช้ระบบดิจิทัลอย่างคุ้มค่าและเต็มศักยภาพ
ข. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ค. พัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัล
ง. เพิ่มประสิทธิภาคในการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นไปตามเป้าหมาย

ข้อ 3 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ "แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล"
ก. เป็นธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ข. เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
ค. กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ
ง. กำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบดิจิทัล

ข้อ 4 กรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลโดยตำแหน่ง มีจำนวนกี่คน
ก. 5 คน
ข. 8 คน
ค. 11 คน
ง. 13 คน

ข้อ 5 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประกอบด้วยกรรมการต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ค. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับมอบหมายหนึ่งคน
ง. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ข้อ 6 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ก. จัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ข. จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ค. จัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
ง. กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล

ข้อ 7 พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 บัญญัติธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไว้กี่ประการ
ก. 4 
ข. 5
ค. 10
ง. 11

ข้อ 8 ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในเรื่องการไม่เรียกรับเอกสารหลักฐานของทางราชการจากประชาชน
ก. ให้หน่วยงานของรัฐที่ออกหลักฐานของราชการส่งข้อมูลผ่านช่องทางดิจิทัล
ข. กรณีมีการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงาน ให้ถือว่ามีการยื่นเอกสารตามกฎหมายแล้ว
ค. ห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากการทำสำเนา เว้นแต่กฎหมาย กฎ หรือระเบียบจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ง. ผิดทุกข้อ

ข้อ 9 หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำ "ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน" และต้องดำเนินการกี่ประการเพื่อให้เป็นไปตาม "ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ"
ก. 7
ข. 8
ค. 9
ง. 10

ข้อ 10 กรณีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นจากประชาชน จะต้องดำเนินการตามข้อใดจึงจะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
ก. จัดให้มีระบบการชำระเงินดิจิทัลอีกช่องทางหนึ่ง
ข. อาจตกลงกับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นให้จัดเก็บเงินแทน
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ผิดทุกข้อ

ข้อ 11 การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน
ข. หน่วยงานของรัฐผู้รับข้อมูลดิจิทัล ต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ในหน้าที่และอำนาจของตนเท่านั้น
ค. หน่วยงานของรัฐผู้รับข้อมูลดิจิทัล ต้องดูแลรักษาข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ง. ถูกทุกข้อ
 
ข้อ 12 หน้าที่หลักของ "ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง" คือข้อใด 
ก. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ข. รักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลดิจิทัล
ค. พัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ง. เปิดเผยข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

ข้อ 13 หน่วยงานที่ต้องดำเนินการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ คือข้อใด
ก. ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
ข. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
ค. ศูนย์ข้อมูลดิจิทัล
ง. ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลกลาง

ข้อ 14 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะต้องคำนึงถึงเรื่องใด 
ก. ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี
ข. ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ค. ประชาชนสามารถนำไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์ได้
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 15 ในวาระเริ่มแรกเมื่อกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลมีผลใช้บังคับ สำนักงานต้องดำเนินการให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เป็นการชั่วคราวแต่ไม่เกินกี่ปี
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 5

ข้อ 16 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เป็นการดำเนินการตามข้อใด
ก. ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ข. การบูรณาการร่วมกัน
ค. การกำกับติดตาม
ง. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ข้อ 17 พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. 23 พฤษภาคม 2562
ข. 23 พฤษภาคม 2563
ค. 23 พฤษภาคม 2564
ง. 23 พฤษภาคม 2565

ข้อ 18 DGA หมายถึงข้อใด
ก. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ข. สพร.
ค. Digital Government Development Agency (Public Organization)
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 19 ผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

ข้อ 20 ข้อใดถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล 
ก. Data Rules
ข. Data Governance for Government
ค. Data Definition
ง. Data Quality Assessment


เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ข. มาตรา 3 นิยาม "รัฐบาลดิจิทัล" คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐและการบริการสาธารณะ โดยปรับปรุงการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลภาครัฐ และการทำงานให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณชน และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ข้อ 2 ตอบ ค. มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะผ่านระบบดิจิทัล อย่างน้อยต้องมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ข้อ (ตามมาตรา 4 วรรคสอง (1) - (5)) 
ข้อ 3 ตอบ ง. มาตรา 5 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นการกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะผ่านระบบดิจิทัล
ข้อ 4 ตอบ ข. มาตรา 6 (2) 
ข้อ 5 ตอบ ข. มาตรา 6 บัญญัติองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลไว้ทั้งหมด 15 คน 
ข้อ 6 ตอบ ค. มาตรา 18 บัญญัติให้มีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 
ข้อ 7 ตอบ ข. มาตรา 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 5 ประการตามที่บัญญัติไว้
ข้อ 8 ตอบ ง. มาตรา 11 กรณีกฎหมายกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ต้องใช้เอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หน่วยงานของรัฐด้วยกันมีหน้าที่จัดส่งเอกสารหลักฐานผ่านช่องทางดิจิทัล โดยไม่เรียกรับเอกสารจากประชาชน และห้ามเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำสำเนาเอกสาร เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากนี้หากมีการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐแล้ว กฎหมายให้ถือว่าได้มีการยื่นเอกสารตามกฎหมายแล้ว
ข้อ 9 ตอบ ก. มาตรา 12 การดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ มี 7 ประการ
ข้อ 10 ตอบ ค. มาตรา 12 วรรคหนึ่ง (3) จัดให้มีระบบการชำระเงินทางดิจิทัลอีกช่องทางหนึ่ง และอาจตกลงกับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นให้จัดเก็บเงินดังกล่าวแทนได้
ข้อ 11 ตอบ ง. มาตรา 13 มาตรา 14
ข้อ 12 ตอบ ก. มาตรา 15 บัญญัติให้มี "ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ข้อ 13 ตอบ ข. มาตรา 15 (3) ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง ต้องดำเนินการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ
ข้อ 14 ตอบ ง. มาตรา 17 บัญญัติเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล
ข้อ 15 ตอบ ข. มาตรา 19 ไม่เกิน 2 ปี
ข้อ 16 ตอบ ก. มาตรา 12 วรรคหนึ่ง (4) 
ข้อ 17 ตอบ ก. มาตรา 2 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562)
ข้อ 18 ตอบ ง. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า สพร. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Digital Government Development Agency (Public Organization) หรือ DGA เป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อ 19 ตอบ ก. มาตรา 20 นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายนี้
ข้อ 20 ตอบ ข. ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล เนื่องจากเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และตรวจสอบการบริหารจัดการข้อมูล ก่อให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ส่งผลให้ข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีคุณภาพ มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และมีความคุ้มทุนต่อการดำเนินงาน

*****ขอให้โชคดีในการสอบครับ*****

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (ชุดที่ 1)