บทความนี้เป็นประเด็นต่อยอดจาก บทความเรื่อง หลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งผู้เขียนเคยได้รับการสอบถามจากนิติกรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งหนึ่ง ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดการลงโทษไว้ 4 สถาน หรือ 5 สถาน และต้องดำเนินการอย่างไร
สภาพปัญหาที่พบ คือ มีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งมีการกำหนดโทษไว้ 4 สถาน คือ
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทัณฑ์บน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดยเพิ่มการลงโทษอีก 1 สถาน คือ "พักการเรียน" ทำให้การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้ 5 สถาน โดยเรียงจากโทษน้อยไปหามากดังนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทันบน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5. พักการเรียน
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อมูลว่า สถานศึกษาหลายแห่งได้กำหนดระเบียบวินัยของนักเรียนและนักศึกษา ตลอดจนการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน เพื่อใช้บังคับกับนักเรียนและนักศึกษา
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทัณฑ์บน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดยเพิ่มการลงโทษอีก 1 สถาน คือ "พักการเรียน" ทำให้การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้ 5 สถาน โดยเรียงจากโทษน้อยไปหามากดังนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทันบน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5. พักการเรียน
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อมูลว่า สถานศึกษาหลายแห่งได้กำหนดระเบียบวินัยของนักเรียนและนักศึกษา ตลอดจนการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน เพื่อใช้บังคับกับนักเรียนและนักศึกษา
รวมทั้งนักวิชาการ นักการศึกษาหลายท่าน ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน เช่นเดียวกัน
กฎหมาย ระเบียบ จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้เขียนพบว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 35 ง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 และกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 120 ง ได้เผยแพร่ กระทู้ถามที่ 042 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคำตอบกระทู้ถามที่ 042 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงเรื่องการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการรักษาวินัยของข้าราชการครูเพื่อกำชับกวดขันให้ผู้บริหารสถานศึกษาเอาใจใส่และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด ซึ่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 4 , 5 และ 6 ได้กำหนดให้การลงโทษนักเรียนนั้นต้องมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอนเท่านั้น และการลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิด มีเพียง 4 สถานเท่านั้น
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการได้นำ บทความเรื่อง การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ของรองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนารงค์ ที่เผยแพร่ใน ไทยรัฐออนไลน์ มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ โทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2558
จากการตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่าระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 กำหนดให้ลงโทษได้ 4 สถาน และในปี พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ในการวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาได้ชี้แจงตอบกระทู้ถามที่ 042 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาก็ทำได้เพียง 4 สถานเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้เพียง 4 สถาน เท่านั้น คือ
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทัณฑ์บน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ดังนั้น ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษามีการแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดยเพิ่มโทษ "พักการเรียน" ขึ้นอีก 1 สถาน จึงไม่ถูกต้อง และกรณีที่สถานศึกษาหลายแห่งอาศัยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการฯ ฉบับที่ 2 นี้ กำหนดให้การพักการเรียนเป็นการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วย จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบกำหนด
ข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่า สถานศึกษาที่กำหนดระเบียบวินัยและกำหนดการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน จะต้องแก้ไขระเบียบของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
#นักเรียนกฎหมาย
17 สิงหาคม 2561
ความคิดเห็น
โพสต์ความคิดเห็น