แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 5)


ข้อ 41 ถึงข้อ 50 ข้อใดกล่าวถูกต้องหรือกล่าวไม่ถูกต้อง

ข้อ 41 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

ข้อ 42 ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจยับยั้งการลาออกของข้าราชการได้ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันขอลาออก

ข้อ 43 คำสั่งลงโทษทางวินัย ต้องแสดงว่าผู้ถูกลงโทษ กระทำผิดในกรณีใด โดยไม่จำต้องระบุมาตรา

ข้อ 44 โทษลดขั้นเงินเดือน เป็น 1 ใน 5 ของโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ

ข้อ 45 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกัน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันทุกกรณี

ข้อ 46 ผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ออกจากราชการ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ

ข้อ 47 ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 48 โดยหลักทั่วไป การลาออกจากราชการ ต้องยื่นหนังสือล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ

ข้อ 49 ข้าราชการที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งลงโทษปลดออกจากราชการได้

ข้อ 50 การลาออกจากราชการมีผลต่อเม่ือได้รับอนุญาตให้ลาออกเท่านั้น

เฉลย
ข้อ 41 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 94 (4) เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (ยกเว้นกรณีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน)
ข้อ 42 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 109 วรรคสาม ยับยั้งการลาออกได้ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออก
ข้อ 43 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 89 คำสั่งลงโทษต้องแสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใดด้วย
ข้อ 44 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 88 วรรคสอง โทษทางวินัยมี 5 สถาน ปัจจุบันเป็นโทษ "ลดเงินเดือน" ไม่ใช่ "ลดขั้นเงินเดือน"
ข้อ 45 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 94 (2) โดยหลักเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ยกเว้นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ 46 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 88 วรรคสอง และมาตรา 97 วรรคสี่ คำสั่งลงโทษทางวินัย "ไล่ออก" ทำให้ผู้ถูกคำสั่งไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
ข้อ 47 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 100 วรรคสาม ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ข้อ 48 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 109 วรรคหนึ่ง ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน (ไม่ใช่ 30 วันทำการ)
ข้อ 49 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 110 วรรคหนึ่ง (5) และมาตรา 88 โทษทางวินัยใช้ในกรณีกระทำผิดวินัยเท่านั้น กรณีไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ จะต้อง "ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทน"
ข้อ 50 ตอบ ไม่ถูกต้อง มาตรา 107 วรรคหนึ่ง (3) ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ เมื่อลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือการลาออกมีผลตามมาตรา 109 (ไม่ได้ถอนใบลาออก ก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้ง)

ลิ้งก์ แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
#นักเรียนกฎหมาย
 12 พฤษภาคม 2564

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (20 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 2)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ การลาของข้าราชการ (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566