บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2025

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (ครั้งที่ 5) อาจารย์กำชัย จงจักรพันธ์ วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 ********** 1. ใบตราส่ง คือ ใบรับของหรือใบรับสินค้า ความสำคัญจะมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ  1.1) เรื่องปริมาณ จำนวน และน้ำหนักของสินค้า ถ้าระบุข้อความไว้แล้ว ก็เป็นไปตามนั้น เว้นแต่ผู้ขนส่งจะได้โต้แย้งโดยระบุไว้เป็นข้อสงวน ตามม.23 ถ้าไม่ระบุข้อสงวน ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่งของ ใบตราส่งก็จะเป็นพยานหลักฐานที่ผู้ส่งของไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ใด ๆ ผู้ขนส่งต้องนำสืบเอาเอง แต่ถ้าใบตราส่งอยู่ในมือของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ม.25 ให้สันนิษฐานไว้โดยเด็ดขาดว่าผู้ขนส่งไม่สามารถโต้แย้งข้อมูลที่ระบุปริมาณ จำนวน และน้ำหนักของสินค้าได้ 1.2) สภาพภายนอกของสินค้า โดยหลักกฎหมายสากล ถ้าเขียนว่าสินค้าเรียบร้อยดี หรือไม่เขียนข้อความว่าสินค้าแตกหัก ก็ต้องถือว่าสินค้านั้นเรียบร้อยดี ถ้าผู้ขนส่งไม่โต้แย้ง ไม่สงวนใด ๆ ไว้ ศาลก็จะถือว่าในใบตราส่งระบุสินค้าเรียบร้อยดี ผลทางกฎหมายระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่งของและผู้รับตราส่ง ก็ต้องถือว่า สินค้านั้นเรียบร้อยดีทุกประการ หากพบว่าสินค้านั้น เสียหา...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 5) อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์ วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2568 ********** 1. ผู้เยาว์ทำการสมรส (แม้จะบรรลุนิติภาวะแล้ว) ก็ต้องได้รับความยินยอม -ม.1454  "ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" -ผู้ให้ความยินยอม ตามม.1436 คือ บิดาและมารดา , บิดาหรือมารดา , ผู้รับบุตรบุญธรรม , ผู้ปกครอง (ไม่รวมถึงผู้พิทักษ์ เว้นแต่บิดามารดาเป็นผู้พิทักษ์) 1.1) ข้อยกเว้น ศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ม.1456  "ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส "  เช่น อาจเพราะเห็นว่าหญิงหรือชายที่จะสมรสหรือคู่สมรสเดิมเป็นหมัน , หรือหญิงตั้งครรภ์กับผู้ที่จะสมรส (ตามป.วิ.พ. ถือว่ากรณีนี้ผลประโยชน์ขัดกัน จึงให้สิทธิ ผู้เยาว์ เป็นผู้มีอำนาจร้องขอต่อศาลได้) -ม.1448 อายุยังไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ส่วนกรณีตามม.1454 , 1455 , 1456 เป็นผู้เยาว์ อายุอาจครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้วก็ได้...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายนิติกรรม สัญญา (ครั้งที่ 4-5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายนิติกรรม สัญญา (ครั้งที่ 4-5) อาจารย์นรินทร ตั้งศรีไพโรจน์ วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2568 ********** 1. วันนี้พูดต่อในเรื่ององค์ประกอบของนิติกรรม ข้อ 3 การกระทำที่มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ ต้องการให้มีผลสมบูรณ์  -ถ้ามีการแสดงเจตนา แต่ไม่ต้องการให้มีผลสมบูรณ์ ขาดเจตนา เป็นโมฆะ ซึ่ง การขาดเจตนาในการทำนิติกรรม มี 4 กรณี คือ เจตนาซ่อนเร้น , เจตนาลวง , นิติกรรมอำพราง และความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม  2. เจตนาซ่อนเร้น  - ม.154  "การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น" -เจตนาซ่อนเร้น เกิดจากความบกพร่อง (ฎ.527/2506) หรือความตั้งใจของผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมเพียงฝ่ายเดียว (ฎ.248/2536)  (เจตนาลวง ม.155 วรรคหนึ่ง สองฝ่ายสมรู้กัน)  โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก -ม.154 + ตัวการตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อ ม.806 2.1) ถ้า คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่...

ใช้รถยนต์พาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เป็นการใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง (ฎ.719/2568 ประชุมใหญ่)

โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์เก๋งของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบรถยนต์เก๋งของกลาง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า รถยนต์เก๋งของกลางซึ่งเป็นของจำเลยเอง เป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรหลบหนีไปให้พ้นจากการจับกุม อันควรริบตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่   ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การริบ...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 5) อาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 ********** 1. ปกติแล้ว ตั๋วเงินเป็นตราสารเปลี่ยนมือ สามารถโอนต่อ ๆ กันไปได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของตั๋วเงินนั้น ถ้าเป็นตั๋วชนิดผู้ถือ วิธีการโอนเป็นไปตามม.918 โอนให้กันด้วยการส่งมอบ , ถ้าเป็นตั๋วชนิดระบุชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน วิธีการโอนเป็นไปตามม.917 สลักหลังและส่งมอบ ซึ่งอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ตามม.919  2. แต่ตั๋วเงินอาจไม่สามารถโอนต่อไปด้วยหลักหลังและส่งมอบได้ เป็นไปตามม.917 วรรคสอง ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญอีกหัวข้อหนึ่ง ตั๋วเงินซึ่งเปลี่ยนมือไม่ได้   (***ปีที่แล้ว 1/77 มีการเสนอข้อสอบตามม.917 แต่กรรมการเลือกข้อสอบประกันภัย) -ม.917 วรรคสอง นำไปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็คด้วย -ตั๋วชนิดผู้ถือ จะมีคำสั่งห้ามเปลี่ยนมือไม่ได้ ไม่มี เพราะขัดกับสภาพของตั๋วชนิดผู้ถือซึ่งโอนด้วยการส่งมอบเท่านั้น , ม.917 ใช้กับตั๋วชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน ซึ่งกฎหมายให้อำนาจผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋ว สามารถเขียนข้อความว่า "เปล...

เจ้าหนี้นำหลักประกันตามสัญญากู้เงินออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ไม่ใช่การยอมรับทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้ยืม (ฎ.6964/2567)

การเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง อันจะทำให้หนี้ระงับไปตามมาตรา 321 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องปรากฏว่า ผู้ให้กู้ให้ความยินยอม ในการเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม และ ต้องมีการ ตกลง กันว่าสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่นำมาชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมนั้นมี ราคา เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลา ณ สถานที่ส่งมอบนั้นเท่าใดหรือไม่ด้วย  เพื่อจะได้ทราบว่าหนี้เงินกู้ยืมระงับไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยกู้เงินโจทก์ โดยนำรถยนต์มาเป็นหลักประกัน และ ตามสัญญากู้เงินมีข้อตกลงว่า หากผู้กู้ผิดนัดผิดสัญญา และผู้ให้กู้ได้บอกกล่าวทวงถามแล้ว แต่ผู้กู้เพิกเฉย ผู้กู้ตกลงให้ผู้ให้กู้ยึดรถยนต์คันดังกล่าวเพื่อนำไปขายทอดตลาดหรือให้ผู้ให้กู้บังคับเอาแก่หลักประกันด้วยวิธีอื่นใดเพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหรือบังคับเอาแก่หลักประกันมาชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินได้ หากผู้ให้กู้ขายรถหรือใช้สิทธิบังคับเอาแก่หลักประกันแล้วยังไม่พอชำระหนี้ที่ค้างชำระ ผู้กู้ยอมรับผิดชดใช้เงินให้แก่ผู้ให้กู้จนกว่าจะครบถ้วน  เมื่อจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่สามารถ...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (ครั้งที่ 4)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (ครั้งที่ 4) อาจารย์กำชัย จงจักรพันธ์ วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2568 ********** 1. bill of lading หรือใบตราส่ง  -ม.3 ใบตราส่ง หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของ เป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล แสดงว่าผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และผู้ขนส่งรับที่ จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้น เมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง  2. ใบตราส่ง มีหน้าที่หรือคุณสมบัติ 3 ประการ 2.1) ใบรับของหรือสินค้า (receipt of goods) 2.2) หลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล (evidence of contract of carriage) 2.3) เอกสารสิทธิ์ (document of title)  3. ใบรับของหรือสินค้า (receipt of goods)  แสดงจำนวน/ปริมาณ/น้ำหนักของสินค้า สภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอก* เช่น แผ่นรีดเย็น 150 ม้วน ทุกม้วนอยู่ในสภาพเรียบร้อยถูกต้อง , ทุเรียนสด จำนวน 1,200 หีบห่อ ทุกหีบห่ออยู่ในสภาพเรียบร้อยปกติ , ปุ๋ยยูเรีย 2,000 ถุง อยู่ในสภาพเรียบร้อยทุกถุง  -ถ้าต้นทาง ใบตราส่งระบุสินค้า 2,000 ชิ้นสภาพเรี...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 5) อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์ วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568 ********** 1. เมื่อครั้งที่แล้วช่วงท้าย อาจารย์พูดถึง คำพิพากษาฎีกาที่ 883/2567 มีข้อพิจารณาหลายเรื่อง ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจให้ดี 2.  สำหรับหัวข้อ สถานที่ชำระหนี้ ม.324 , ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ม.325 , หลักฐานการชำระหนี้ ม.326-327 , การจัดสรรการชำระหนี้ ม.328-329 , การวางทรัพย์ ม.331-339 อาจารย์จะขอข้ามไป เพราะรายละเอียดข้อเท็จจริงไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก 3. วิธีการชำระหนี้ ม.208 วรรคหนึ่ง    ม.208 วรรคหนึ่ง  "การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง" หนี้จะระงับได้ ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ให้ถูกต้อง   ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง คือ ลูกหนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะชำระหนี้ได้อยู่ แต่จะชำระบางส่วนหรือชำระเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิตามม.320  "อันจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่"...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหุ้นส่วน บริษัท (ครั้งที่ 5)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหุ้นส่วน บริษัท (ครั้งที่ 5) อาจารย์วิรัตน์ วิศิษฏ์วงศกร วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2568 ********** 1. ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ในส่วนของอาจารย์เหลืออีก 2 ครั้ง ซึ่ง 2 ครั้งหน้าค่อนข้างสำคัญ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ของห้างหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก , เวลาเจอข้อสอบห้างหุ้นส่วนจำกัดก็มักนำบทบัญญัติห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้ตามม.1080*** 2. การลงหุ้นด้วยทรัพย์สิน มี 2 ประเภท 2.1) ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นการลงหุ้น ความเกี่ยวพันกับห้างหุ้นส่วนในเรื่อง ส่งมอบ ซ่อมแซม ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ ข้อยกเว้นความรับผิด ให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการซื้อขาย ม.1030 เช่น ผู้ลงหุ้นด้วยทรัพย์สินต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ห้างต้องไม่ชำรุดบกพร่อง -แต่บทบัญญัติซื้อขาย ในส่วนอื่น ไม่นำมาใช้บังคับ เช่น บททั่วไปม.456 (แบบของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนฯ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ)   -ฎ.794/2536 (กรรมสิทธิ์ตกเป็นของห้างฯ ตั้งแต่เวลาที่นำทรัพย์สินมาลงหุ้น) ม.1030 ที่ว่าความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นสวนในเรื่องส่งมอบ ใ...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 4)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 4) อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์ วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน 2568 ********** วันนี้อาจารย์บรรยายเรื่องการสมรส เงื่อนไขการสมรส ความสัมพันธ์ ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส 1. กฎหมายบัญญัติข้อห้ามของการสมรสไว้ เพราะฉะนั้น อะไรที่ไม่อยู่ในข้อห้าม ก็ทำการสมรสได้ เช่น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับเพศในการสมรส ตั้งแต่ 23 มกราคม 2568 บุคคลต่างเพศ เพศเดียวกัน หรือมีความหลากหลายทางเพศ ก็สามารถทำการสมรสกันได้ 2. การสมรส หมายถึง บุคคลสองฝ่าย สมัครใจเป็นคู่สมรสกัน โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ตามกฎหมายครอบครัว และทำการสมรสตามแบบที่กฎหมายกำหนด 2.1) จะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ก็ได้ 2.2) มีความสมัครใจมุ่งหมายให้ใช้ชีวิตร่วมกันฉันคู่สมรส คือ มีความสัมพันธ์ตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งในทางส่วนตัวและในทางทรัพย์สิน -กรณีสมัครใจให้มีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวเท่านั้น ไม่ประสงค์ให้เกิดความสัมพันธ์ในทางทรัพย์ ไม่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ -กรณี ไม่ประสงค์ให้มีความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว แต่ประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางทรัพย์สินเท่านั้น เป็นโมฆะ ม.1458  ที่บั...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 4)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 4) อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์ วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2568 ********** หลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการชำระหนี้ถูกต้อง (กฎหมายมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงจะทำให้หนี้ระงับไปได้) 1) กำหนดเวลาชำระหนี้ ม.203 (อาจารย์อธิบายในครั้งที่แล้ว) 2) ผู้ชำระหนี้ ม.314 3) ผู้รับชำระหนี้ ม.315-319 4) วิธีการชำระหนี้ ม.320-323 5) สถานที่ชำระหนี้ ม.324 6) ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ม.325 7) หลักฐานการชำระหนี้ ม.326-327 8) การจัดสรรการชำระหนี้ ม.328-329 9) การวางทรัพย์ ม.331-339 1. ผู้ชำระหนี้ 1.1) ลูกหนี้ , ตัวแทนลูกหนี้ , ทายาทของลูกหนี้ (ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด) , บุคคลที่ลูกหนี้ใช้ในการชำระหนี้ม.220  -โดยปกติ ถ้าไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่น ตัวผู้ชำระหนี้ก็คือตัวลูกหนี้โดยตรง 1.2) ผู้มีสิทธิรับช่วงสิทธิ ม.227 , 229 , 230 -ตามกฎหมาย ผู้รับช่วงสิทธิเป็นผู้มีส่วนได้เสียในหนี้ของลูกหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ จำต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ จึงรับช่วงสิทธิ 1.3) บุคคลภายนอก ม.314   (ในหนังสือของอาจารย์ ๆ ให้ความสำคัญมาตรานี้)  2. การชำระหนี้โ...