สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 5)
สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 5)
อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์
วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2568
**********
1. ผู้เยาว์ทำการสมรส (แม้จะบรรลุนิติภาวะแล้ว) ก็ต้องได้รับความยินยอม
-ม.1454 "ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
-ผู้ให้ความยินยอม ตามม.1436 คือ บิดาและมารดา , บิดาหรือมารดา , ผู้รับบุตรบุญธรรม , ผู้ปกครอง (ไม่รวมถึงผู้พิทักษ์ เว้นแต่บิดามารดาเป็นผู้พิทักษ์)
1.1) ข้อยกเว้น ศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ม.1456 "ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส" เช่น อาจเพราะเห็นว่าหญิงหรือชายที่จะสมรสหรือคู่สมรสเดิมเป็นหมัน , หรือหญิงตั้งครรภ์กับผู้ที่จะสมรส (ตามป.วิ.พ. ถือว่ากรณีนี้ผลประโยชน์ขัดกัน จึงให้สิทธิผู้เยาว์เป็นผู้มีอำนาจร้องขอต่อศาลได้)
-ม.1448 อายุยังไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ส่วนกรณีตามม.1454 , 1455 , 1456 เป็นผู้เยาว์ อายุอาจครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้วก็ได้ เช่น อายุ 17 ปี จะทำการสมรส บิดามารดาให้ความยินยอม จึงเป็นการให้ความยินยอมทั้งสองกรณีตามม.1448 และม.1454 , กรณีอายุ 19 ปี ไม่ต้องขอความยินยอมตามม.1448 แต่ยังต้องขอความยินยอมตามม.1454
1.2) แบบความยินยอม
-ม.1455 "การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้"
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้"
-จะให้ความยินยอมโดยส่งทางไลน์ให้ฝ่ายทะเบียนดู หรือส่งทางเฟซบุ๊คไม่ได้ เพราะขัดต่อม.3 พ.ร.บ.กำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งที่ยกเว้นมิให้นำมาใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก
-ม.1455(3) มีเหตุจำเป็น เช่น เป็นอัมพาต และพยานไม่จำต้องบรรลุนิติภาวะ (ไม่เหมือนกับพยานในพินัยกรรม)
-ความยินยอมที่ให้แล้ว ถอนไม่ได้ ไม่เป็นผล
-ถ้าให้ความยินยอมแล้ว ผู้ให้ความยินยอมตายก่อนสมรส (เท่ากับ "ไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอม" ม.1456) การแสดงเจตนาย่อมสิ้นผลเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่ไม่กระทบถึงความยินยอมที่ให้ไปแล้ว ผู้เยาว์จึงต้องร้องขอต่อศาลให้ทำการสมรส ตามม.1456
-ไม่ใช้กับม.169 วรรคสอง เพราะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อผู้เยาว์หรือบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าต่อหน้าพยาน ต่อหน้านายทะเบียน
1.3) การสมรสของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับความยินยอม เมื่อมีการฝ่าฝืน เป็นโมฆียะตามม.1509 "การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ" + ม.1502 "การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน"
-เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมเท่านั้น ที่จะขอให้เพิกถอนการสมรสได้ ม.1510 วรรคหนึ่ง "การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้เพิกถอนการสมรสได้" ผู้เยาว์ไม่อาจขอเพิกถอนได้
2. สิทธิในการขอเพิกถอนการสมรสจะระงับเมื่อคู่สมรสมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ตามม.1510 วรรคสอง "สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์" และม.1510 วรรคท้าย "การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้ให้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันทราบการสมรส"
-สมรสเมื่ออายุ 19 ปี แต่เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบรรลุนิติภาวะโดยผลของกฎหมาย เช่นนี้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสก็ย่อมระงับไป
-ถ้าร้องขอให้เพิกถอนก่อนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เหตุในการขอเพิกถอนจึงระงับไป ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดี
3. ความยินยอมของคู่สมรส
-ม.1458 "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลสองคนยินยอมเป็นคู่สมรสกัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย"
-ทั้งสองฝ่ายต้องแสดงความยินยอมเป็นคู่สมรส จะตั้งตัวแทนให้บุคคลอื่นมาแสดงเจตนายินยอมไม่ได้
-ต้องมีเจตนาสมรส สมัครใจเป็นคู่สมรสด้วย ถ้าไม่สมัครใจเป็นคู่สมรส ทำให้การสมรสเป็นโมฆะม.1495
-กรณีไม่ยินยอมเป็นคู่สมรสกันเลย เป็นโมฆะ เช่น แสดงบทตามละคร , ฎ.1067/2545 จดทะเบียนสมรสเพื่อให้ได้รับบำเหน็จตกทอด , ฎ.5351/2545 เชื่อหมอดู ต้องจดทะเบียนสมรสจะได้ร่ำรวย แต่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน ปล่อยเวลามา 3 ปีเศษ , ฎ.10442/2558 ชายว่าจ้างหญิงให้จดทะเบียนสมรสเพื่อผสมเทียม เพื่อให้เป็นบุตรแก่ชายโดยมิได้อยู่กินด้วยกัน
4. หลักความยินยอมบกพร่อง การสมรสเป็นโมฆียะ 3 เหตุเท่านั้น
4.1) สำคัญผิดตัวคู่สมรส ม.1505
-ม.1505 "การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส"
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส"
-เช่น ฝาแฝด ศัลยกรรมใบหน้าให้เหมือนคนอื่น จึงสมรสผิดตัว
4.2) ถูกกลฉ้อฉล ม.1506
-ม.1506 "ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลอันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้น จะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่กลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลที่สามโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล หรือเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันสมรส"
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่กลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลที่สามโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล หรือเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันสมรส"
-เช่น อ้างว่าไม่เคยมีบุตร , สัญชาติ , การผ่านการสมรสหรือไม่ , วุฒิการศึกษา , ฐานะ
4.3) ถูกข่มขู่ ม.1507
-ม.1507 "ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่"
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่"
-ใครข่มขู่ก็ได้ จึงกลัวและยอมจดทะเบียนสมรส
4.4) ผู้มีสิทธิขอเพิกถอน ม.1508
-ม.1508 "การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอนการสมรสได้
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามมาตรา 28 ขอเพิกถอนการสมรสได้ด้วย แต่ถ้าผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลดังกล่าวจะร้องขอเพิกถอนการสมรสก็ได้ แต่ต้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถพร้อมกันด้วย ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวนั้นเสียด้วย
คำสั่งศาลให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลตามวรรคสอง ไม่กระทบกระเทือนสิทธิการขอเพิกถอนการสมรสของคู่สมรส แต่คู่สมรสจะต้องใช้สิทธินั้นภายในกำหนดระยะเวลาที่คู่สมรสมีอยู่ ถ้าระยะเวลาดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึงหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีเหลืออยู่เลย ก็ให้ขยายระยะเวลานั้นออกไปได้ให้ครบหกเดือนหรืออีกหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี"
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามมาตรา 28 ขอเพิกถอนการสมรสได้ด้วย แต่ถ้าผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลดังกล่าวจะร้องขอเพิกถอนการสมรสก็ได้ แต่ต้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถพร้อมกันด้วย ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวนั้นเสียด้วย
คำสั่งศาลให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลตามวรรคสอง ไม่กระทบกระเทือนสิทธิการขอเพิกถอนการสมรสของคู่สมรส แต่คู่สมรสจะต้องใช้สิทธินั้นภายในกำหนดระยะเวลาที่คู่สมรสมีอยู่ ถ้าระยะเวลาดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึงหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีเหลืออยู่เลย ก็ให้ขยายระยะเวลานั้นออกไปได้ให้ครบหกเดือนหรืออีกหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี"
-เฉพาะคู่สมรสที่สำคัญผิดตัว ถูกฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนการสมรสได้
-ถ้าผู้มีสิทธิขอเพิกถอนตกเป็นคนไร้ความสามารถ , คนวิกลจริต ให้บุคคลตามม.28 ร้องขอให้เพิกถอนการสมรสได้
4.5) ระยะเวลาเพิกถอน สิทธิขอเพิกถอนเป็นอันระงับเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันสมรส ม.1505 วรรคสอง , 90 วันนับแต่รู้หรือควรรู้ถึงกลฉ้อฉล หรือ 1 ปี นับแต่วันสมรส ม.1506 วรรคสาม , 1 ปี นับแต่วันที่พ้นการข่มขู่ ม.1507 วรรคสอง
5. แบบแห่งการสมรส ม.1457
-ม.1457 "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น"
-ต้องจดทะเบียนสมรส ในหรือนอกที่ทำการก็ได้ เชิญนายทะเบียนมาจดทะเบียนนอกที่ทำการได้โดยเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
-ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นภูมิลำเนาของตนหรือคู่สมรส
-นายทะเบียนเพียงแต่ตรวจดูสอบคุณสมบัติว่าฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสหรือไม่เท่านั้น
-ฎ.4302/2528 ถ้าเงื่อนไขไม่ต้องห้าม นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนสมรส อ้างระเบียบหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้ ถือว่าโต้แย้งสิทธิ สามารถฟ้องศาลได้
-ฎ.3740/2525 เป็นชาญญวนอพยพแล้วมีลูก แต่ลูกไม่มีบัตรประชาชน นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ลูกชาวญวนอพยพไม่ได้ (ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าคนที่มาสมรสต้องมีบัตรประชาชน)
-ฎ.3057/2526 นายทะเบียนจะอ้างว่าต้องมีใบสำคัญประจำคนต่างด้าวก่อนสมรสไม่ได้
-ฎ.2616/2543 แม้ใบทะเบียนสมรสไม่ได้ประทับตรานายทะเบียน ก็ไม่มีผลทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะ เพราะพระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญเท่านั้น
-ฎ.2510/2545 ทะเบียนการสมรสมีลายมือชื่อพยานเพียงคนเดียว ฝ่าฝืนพ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว ม.6 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่สมรสลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนและพยาน 2 คน การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์
6. การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ ม.1459
-ม.1459 "การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน"
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน"
-เมื่อจดทะเบียนสมรสตามม.1459 แล้ว มีผลสมบูรณ์ ไม่ต้องมาบันทึกการสมรสในประเทศไทยอีก
6.1) พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
-ม.20 วรรคหนึ่ง การสมรสที่ได้ทำไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทำการสมรส ย่อมเป็นอันสมบูรณ์
-การสมรสระหว่างคนในบังคับสยาม หรือคนในบังคับสยามกับคนต่างด้าว ซึ่งได้ทำในต่างประเทศโดยถูกต้องตามแบบที่กฎหมายสยามกำหนดไว้ ย่อมเป็นอันสมบูรณ์
-ม.19 เงื่อนไขการสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย
-ฎ.218/2562 A สัญชาติลิทัวเนีย B สัญชาติไอร์แลนด์ เงื่อนไขแห่งการสมรสจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายแห่งสัญชาติของทั้งสองคน แต่ A กับ B มิได้นำสืบให้เห็นว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศมีบัญญัติเงื่อนไขไว้อย่างไร จึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทย ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ม.8
ครั้งหน้าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว ม.1461-1464/1
***จบการบรรยาย***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น