สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 7)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 7)
อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์
วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2568
**********

1. ม.216 "ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้"
1.1) ลูกหนี้ผิดนัด อาจผิดนัดตามม.204 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง 
1.2) โดยเหตุผิดนัดการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์ คือ ระยะเวลาเป็นสาระสำคัญ เช่น สั่งเค้กวันเกิด 
1.3) เกิดความเสียหาย
-ถ้าเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ เจ้าหนี้ยังต้องรับชำระหนี้ บอกปัดไม่รับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะการชำระหนี้ไม่ไร้ประโยชน์ แต่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนม.215
1.4) เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้
-ความเกี่ยวโยงระหว่างม.216 บอกปัดไม่รับชำระหนี้ อาจไม่ถึงกับบอกเลิกสัญญา การเรียกค่าเสียหายยังมีฐานมาจากสัญญาที่ยังอยู่ (ฝ่ายลูกหนี้มีภาระการพิสูจน์) ส่วนม.388 และม.391 วรรคสี่ เป็นการบอกเลิกสัญญา (ฝ่ายที่บอกเลิกสัญญามีภาระการพิสูจน์ความเสียหาย)

2. ม.217 "ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง"
2.1) ต้องมีการผิดนัดของลูกหนี้ อาจผิดนัดตามม.204 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือผิดนัดมูลละเมิดตามม.206+ม.439
2.2) เกิดความเสียหายในระหว่างผิดนัด เพราะ
  --ลูกหนี้ประมาทเลินเล่อ หรือ
  --การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุ
-ม.217 เป็นความรับผิดเคร่งครัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วเกิดความเสียหายขึ้น ลูกหนี้ต้องรับผิด
-เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน มีข้อยกเว้นความรับผิดกรณีเกิดความเสียหายในระหว่างผิดนัด เพราะการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุ ถ้าลูกหนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าถึงแม้จะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดความเสียหายก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั้นเอง (ม.217 ข้อยกเว้นเฉพาะเหตุที่สองอุบัติเหตุเท่านั้น ส่วนประมาทเลินเล่อไม่มีข้อยกเว้น) 
-ข้อสังเกต
  --ม.439 เป็นหลักการเดียวกันกับม.217
  --จงใจไม่ชำระหนี้ อ้างเหตุสุดวิสัยไม่ได้ (ฎ.1296/2518)
  --ข้อแตกต่างการปรับใช้หลักระหว่างม.217 กับม.218
-นักศึกษาควรทำความเข้าใจม.217 ให้ดี

ครั้งหน้าเรื่องดอกเบี้ยระหว่างการผิดนัด 

***จบการบรรยาย***

✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 8
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 9
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 10
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 11
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 12
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 13
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 14
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 15
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 16

ความคิดเห็น

10 บทความยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ)