สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด (ครั้งที่ 5-6)
สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายละเมิด (ครั้งที่ 5-6)
อาจารย์วัชระ เนติวาณิชย์
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2568
**********
หลักเกณฑ์กระทำต่อผู้อื่น (ต่อ)
1. จ้างทำของ จ้างซ่อมรถยนต์ หากรถที่รับจ้างซ่อม ถูกทำละเมิดขณะอยู่ในความครอบครองของผู้รับจ้างซ่อม ผู้รับจ้างย่อมไม่ต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นเจ้าของรถ ม.219 ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ถูกทำละเมิด มิใช่ผู้รับจ้างซ่อม (ผู้รับจ้าง ฟ้องไม่ได้)
2. ฝากทรัพย์ ผู้รับฝากนอกจากมีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้ว ผู้รับฝากยังมีหน้าที่คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ฝากด้วยตามม.657 ทั้งผู้รับฝากยังต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นด้วยตามม.659 , หากมีผู้ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายขณะอยู่ในอารักขาของผู้รับฝาก จึงถือว่าเป็นการทำละเมิดต่อผู้รับฝากด้วย (ผู้รับฝากฟ้องได้)
3. ยืมใช้คงรูป เป็นการทำละเมิดต่อผู้ให้ยืม (ผู้ยืม ฟ้องไม่ได้)
4. ผู้เยาว์ นอกจากเป็นการละเมิดต่อผู้เยาว์แล้ว ยังเป็นการทำละเมิดต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองของผู้เยาว์ด้วย เพราะบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีอำนาจและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามม.1564 , 1566 , 1567 , 1598/2 (ฎ.6232/2554) (บิดามารดาฟ้องได้) (บิดานอกกฎหมายก็ฟ้องได้)
-กระทำทางเพศต่อผู้เยาว์ ไม่ว่าผู้เยาว์จะยินยอมหรือไม่ ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จะอ้างว่าผู้เยาว์ยินยอมไม่ได้
-กระทำต่อบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว บิดามารดาย่อมไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามม.1564 วรรคหนึ่ง ถ้ามีการทำละเมิดแต่ไม่ถึงตาย ไม่ถือว่าเป็นการทำต่อบิดามารดา
-กระทำต่อบุตรบุญธรรม บิดามารดาเดิมของบุตรบุญธรรม ก็ยังเป็นผู้ถูกทำละเมิดได้เหมือนเดิม เพราะม.1598/28 บุตรบุญธรรมยังไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิด (ฎ.689/2512)
5. คู่สมรส กระทำละเมิดต่อคู่สมรส (คู่สมรสอีกฝ่ายฟ้องได้ตามกฎหมายครอบครัว)
-กระทำต่อคู่หมั้น ชายคู่หมั้นฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีหรือข่มขืนกระทำชำเราได้ตามกฎหมายครอบครัว
6. ทนายความ
-ฎ.21730/2556 ทนายความเป็นวิชาชีพด้านกฎหมาย ต้องมีความละเอียดรอบคอบ และมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ ไม่ตรวจสอบทะเบียนราษฎรให้ดี ฟ้องผิดคน เป็นการละเมิด ฟ้องละเมิดได้
7. การใช้สิทธิเกินส่วน การใช้สิทธิมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญตามม.421 , 1337
-ฎ.1719-1720/2499 โรงงานส่งกลิ่นเหม็น ต้องรับผิด
-ฎ.1992/2538 สร้างหลุมฝังศพในที่ดินของตนและฝังศพไว้ แม้จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว แต่ห่างบ้านโจทก์ประมาณ 10 เมตร โจทก์ได้รับความกดดันทางจิตใจ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินติดกันได้รับความเสียหาย และเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควรตามม.1337 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
-กฎหมายให้อำนาจจับตามหมายจับ แต่แกล้งไปจับเจ้าบ่าวตอนแต่งงาน มุ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นละเมิด
8. การกระทำโดยผิดกฎหมาย การกระทำละเมิดจะต้องเป็นการกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย
-เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย แต่ไปบุกรุกเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย เป็นละเมิดม.420
-การจับ ค้นบ้านที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายจับ หมายค้น ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมาย เป็นละเมิด
9. การกระทำโดยมีอำนาจ หากผู้กระทำมีสิทธิหรืออำนาจกระทำตามกฎหมาย การกระทำนั้นย่อมไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด
9.1) กฎหมายให้อำนาจโดยตรง
-เจ้าของกรรมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินของตน มีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้
-เจ้าพนักงานตำรวจ/เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจจับ ค้น ยึดทรัพย์ตามกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจตามป.วิ.อ. เช่น ตำรวจยึดรถเพื่อตรวจสอบ เมื่อไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง ไม่เป็นละเมิด
-ใช้สิทธิดำเนินคดี ขอความเป็นธรรม ร้องทุกข์ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ เป็นการกระทำโดยชอบ ต้องไม่กลั่นแกล้ง
-ฎ.5026/2552 ร้องเรียนโดยสุจริต ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่เป็นละเมิด
-พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์เพื่อตรวจสอบหาร่องรอยในการชนว่าใครผิด มีอำนาจยึดเท่าที่จำเป็น ถ้าเสร็จแล้วต้องคืน หากยึดรถแล้วเก็บไว้เฉย ๆ ไม่สอบสวน ถือว่าใช้อำนาจโดยไม่ชอบ เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน เป็นละเมิด
9.2) มีอำนาจตามสัญญา สัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ อีกฝ่ายก็มีหน้าที่ ฝ่ายที่มีสิทธิกระทำตามสัญญาแล้ว ก้มีอำนาจกระทำโดยชอบ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด
-สัญญาเช่าที่ดินเป็นโมฆียะ แต่ยังไม่บอกเลิก สัญญายังสมบูรณ์ การใช้สิทธิตามสัญญาย่อมไม่เป็นละเมิด
-ฎ.785/2560 ปลอมสัญญากู้ จงใจให้เสียหาย เป็นละเมิด
9.3) มีอำนาจตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
-ฝ่ายชนะคดีดำเนินการบังคับตามคำพิพากษา ไม่เป็นละเมิด
9.4) เกิดอำนาจจากความยินยอม
-ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำประทุษร้ายโดยสมัครใจ ยอมเข้าสู่อันตรายไม่ว่าจะเป็นการทำต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งเป็นความยินยอมของผู้สามารถให้ความยินยอมได้ ย่อมไม่เป็นละเมิด เช่น สมัครใจวิวาทต่อสู้ ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
-ผู้เยาว์ยินยอมให้กระทำชำเราไม่ได้ ถือเป็นการกระทำละเมิด ผู้กระทำต้องรับผิด
10. การฝ่าฝืนกฎหมาย การฝ่าฝืนกฎหมายที่ประสงค์ปกป้องบุคคลอื่น
-ม.422 "ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์ เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด"-ฎ.1285/2481 แม้ฝ่าฝืนกฎหมาย แต่อีกฝ่ายก็ผิด ไม่ต้องรับผิด
11. การกระทำโดยจงใจ กระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน เช่น ตีหัว ตบ
-สำคัญผิดไม่ใช่จงใจ เช่น หยิบหนังสือคนอื่นเข้าใจว่าเป็นของตนเอง ไม่ได้จงใจ แต่จะเป็นประมาทเลินเล่อหรือไม่ ต้องดูข้อเท็จจริง
-ฎ.517/2519 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแร่ โดยเข้าใจโดยสุจริตว่าแร่เป็นของลูกหนี้ ไม่ได้จงใจ
12. การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ได้แก่กระทำโดยไม่จงใจ แต่ผู้กระทำได้กระทำโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร
12.1) การวัดความระมัดระวัง ต้องคำนึงถึงเพศ อายุ ฐานะเดียวกับผู้กระทำว่า คนธรรมดาที่อยู่ในฐานะเช่นนั้นจะพึงระมัดระวังเพียงใด
12.2) ในภาวะเช่นนั้น คือ บุคคลที่อยู่ในภาวะเดียวกับผู้กระทำ โดยเทียบดูว่าบุคคลทั่วไปหรือวิญญูชนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้นควรใช้ความระมัดระวังเพียงใด
12.3) วิสัย ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคลผู้กระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
12.4) พฤติการณ์ ข้อเท็จจริงที่ประกอบการกระทำของผู้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ดูสภาพภายนอก เช่น ถนนเรียบ ขลุขะ มีเศษหินดีดกระเด็น ฝนตก คนพลุกพล่าน
-คนขับรถเป็น กับ คนขับรถไม่เป็นแล้วไปขับรถ ความระมัดระวังย่อมแตกต่างกัน
-แพทย์ย่อมมีความระมัดระวังหรือความชำนาญในการผ่าตัดดีกว่าคนที่ไม่ใช่แพทย์
-ฎ.6280/2529 ธนาคารไม่ตรวจลายมือชื่อให้ดี เป็นประมาทเลินเล่อ จะยกข้อสัญญายกเว้นความรับผิดไม่ได้
-ฎ.7452/2541 แพทย์ผ่าตัดทำให้มดลูกทะลัก ทำให้ลำไส้ทะลักออกมา ไม่ใช้ความระมัดระวังตามปกติของวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นประมาทเลินเล่อ
-ฎ.970/2475 จำเลยขับรถหลีกรถยนต์ซึ่งขับสวนทางมาข้างหน้าโดยกะทันหัน มิฉะนั้นจะเกิดชนขึ้น ไม่เป็นประมาทเลินเล่อ เมื่อล้อหลังรถยนต์ไปทับสิ่งของที่เจ้าของวางพิงไว้ข้างขอบบาทวิถีล้ำถนนหลวงออกไปศอกเศษเสียหาย จำเลยหาจำต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์นั้นไม่
-ฎ.8789/2559 ขับรถชนท้าย-ไปชนต่อ-ผลโดยตรง-ประมาทเลินเล่อ
-ฎ.1111/2535 กลับรถตรงที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ (สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด) ถ้านำสืบได้ว่าใช้ความระมัดระวังดี ไม่เป็นประมาท
-ฎ.114/2510 จำเลยขับรถบรรทุกข้างไหล่เขา ขับไม่เร็ว การที่ล้อพ่วงเอียง เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุม เอาหินกองไว้ หินแตก เป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ำลง และรถคันที่จำเลยขับก็ไม่ได้คว่ำ ถ้าผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดดลงจากรถ ก็คงไม่ได้รับอันตรายใด ๆ หากใช่ความประมาทของจำเลยไม่
-ฎ.769/2510 เวลากลางคืน ผู้หญิงจอดรถติดไฟแดง ชายคนร้ายเปิดประตูนั่งข้างผู้หญิง ในมือชายมีระเบิด และข่มขู่ ผู้หญิงเกิดตกใจ ขับรถฝ่าไฟแดงไปชนรถคันอื่น ไม่ประมาทเลินเล่อ
13. ทำให้เขาเสียหาย
-ความรับผิดทางละเมิดมุ่งประสงค์ที่จะให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่มุ่งลงโทษทางอาญาแก่ผู้ทำละเมิด
-ฎ.2468/2540 กระชากตัวผู้เสียหายออกมาจากบริเวณที่ยืนอยู่ใต้หลังคา แม้จำเลยจะยืนนอกบ้าน แต่เอื้อมมือเข้าไปภายในบ้าน เพื่อจับและฉุดกระชากออกมา เป็นบุกรุก และเป็นละเมิด
-ฎ.1191/2560 เอาชื่อคนอื่นมาใส่ว่าเป็นสถาปนิกในป้ายประกาศบริเวณที่ก่อสร้าง เป็นละเมิด
14. เสียหายแก่ชีวิต ทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
15. เสียหายแก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอันตรายแก่กายหรือไม่เป็นอันตรายแก่กาย
-ฎ.15067/2557 จำเลยแจ้งผลการป่วยผิดพลาด ทำให้อาการโรคมะเร็งของโจทก์ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย เป็นละเมิดต่อโจทก์
-ฎ.273/2509 ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บปวด แค้นใจ เป็นอารมณ์ ไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ ไม่เป็นละเมิด
-ถ้าเป็นความเสียหายทางจิตใจ กระทบกระเทือนต่อจิตใจ จิตฟั่นเฟือน ตกใจกลัว เอาของมาให้กินให้อาเจียน ทำให้เสียแก่ประสาท เป็นการทำให้เสียหายแก่ร่างกาย
-ฎ.4571/2556 เอาปืนมาขู่บนทางเท้าว่ามึงอยากตายหรือ เป็นการจงใจทำให้โจทก์เสียหาย เป็นละเมิด ทำให้โจทก์ตกใจกลัว
16. เสียหายแก่อนามัย ทำให้เสียสุขภาพ อยู่อย่างไม่สงบ เพราะกลิ่น เสียง ควัน กระเทือน น้ำเน่า ฝุ่น
-ฎ.9042/2560 แพทย์ร่วมกันตรวจวินิจฉัยการตั้งครรภ์ แจ้งว่าลูกสมบูรณ์ แต่ลูกพิการ กระเทือนใจอย่างรุนแรง เสียหาย เป็นประมาท
17. เสียหายแก่เสรีภาพ ตามป.อาญา ม.309 กักขัง หน่วงเหนี่ยว หรือทำให้ไม่มีเสรีภาพในร่างกาย ถือว่าเป็นละเมิด
-ฎ.1447/2503 แจ้งความเท็จ ทำให้โจทก์ถูกจับกุม เสียเสรีภาพ เป็นละเมิด
18. เสียหายแก่ทรัพย์สิน เช่น ความผิดตามลักษณะทรัพย์ใน ป.อาญา ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก ถือว่าเป็นความเสียหายแก่ทรัพย์สินทั้งสิ้น
-เสียหายแก่สิทธิครอบครอง ป.พ.พ. บรรพ 4 สิทธิครอบครองเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง
-ฎ.1294/2529 ซื้อช้าง แม้ซื้อขายเพียงมอบตั๋วรูปพรรณ ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นผู้มีสิทธิครองครอง ฟ้องผู้ทำละเมิดได้
-ฎ.877/2501 ลักกระแสไฟฟ้า
19. เสียหายแก่สิทธิ เสียหายแก่สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นคำกว้าง ครอบคลุมความเสียหายทุกอย่าง
20. ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
20.1) ทฤษฎีเงื่อนไขหรือทฤษฎีผลโดยตรง เรียกอีกอย่างว่าทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุ
-ถ้าไม่มีการกระทำที่ถูกกล่าวหา ผลจะไม่เกิด
-ถือว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำที่ถูกกล่าวหา ผลอันหนึ่งอาจจะเกิดจากหลายเหตุได้
-ถ้าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นเหตุหนึ่งในหลาย ๆ เหตุแล้ว ผู้กระทำก็ต้องรับผิดโดยไม่คำนึงถึงว่ามีเหตุอื่นมาทำให้เกิดผลนั้นได้ เช่น ขับรถชนท้ายรถคันหน้า เป็นเหตุให้รถชนต่อ ๆ ไป
20.2) ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น ในแง่ความรับผิดชอบของผู้กระทำ เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นนั้นเท่านั้น ที่ผู้กระทำต้องรับผิดชอบ
-ฎ.5129/2556 ครูพละสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ วิ่งไม่ดีก็ให้วิ่งอีก 3 รอบ ไม่ดีอีกก็ให้วิ่งอีก ในขณะที่แดดร้อนจัด ไม่เหมาะสม เพราะอาจเป็นอันตรายแก่เด็กอายุ 11-12 ปี เด็กหัวใจล้มเหลว แม้จะไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ เมื่อเด็กตาย เป็นละเมิด
-ฎ.1898/2518 ชนรถบรรทุกยาง ยางหาย เป็นผลโดยตรง
21. มีเหตุแทรกซ้อนให้เสียหายมากขึ้น ความเสียหายบางอย่างขาดตอนไปแล้ว แต่มีเหตุแทรกซ้อนขึ้นมา คนกระทำคนแรกจะต้องรับผิดในผลนั้นหรือไม่
-เช่น ก.ทำร้าย ข. ระหว่าง ข. ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ถูก ค. ตามมายิง ข. ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล ต้องยึดหลักว่า เหตุแทรกซ้อนที่ทำให้ตาย วิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่ว่าเกิดขึ้นได้ กรณีที่ ค. ถูกยิงตาย ไม่เกี่ยวข้องกัน วิญญูชนไม่อาจคาดหมายได้
22. ไม่ถือว่าเสียหาย มีการกระทำบางอย่าง แม้ผู้ถูกกระทำจะได้รับความเสียหาย แต่ความเสียหายนั้นมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรงหรือโดยนิตินัย ไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด เช่น ผู้เสียหายทำผิดอาญา ฝากเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่ง ช่วยวิ่งเต้นเรื่องคดี ถือหลักว่าไม่เสียหาย เพราะมีส่วนที่ไปใช้ให้เขาทำผิดอาญา ไปให้สินบนเจ้าพนักงาน คดีอาญาไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ในคดีแ่งก็ไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายด้วย
23. ทรัพย์ที่เสียหายถูกโอน เมื่อเสียหายแล้ว ก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
-มีบางกรณีเมื่อความเสียหายหมดไป จะได้ฟ้องหรือไม่ เช่น รถถูกชนบุบ วันรุ่งขึ้นเจ้าของขายรถไปหรือรถถูกขโมยไป ก็ยังฟ้องได้อยู่
24. ม.420 "...จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น" เป็นผลของการละเมิด ทำให้เกิดหนี้ ส่วนวิธีใช้ค่าสินไหมทดแทนและต้องใช้อะไร อย่างไร เป็นไปตามหมวด 2 ว่าด้วยค่าสินไหมทดแทน
***จบการบรรยาย***
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 7
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 8
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 9
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 10
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 11
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 12
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 13
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 14
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 15
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายละเมิด ครั้งที่ 16
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น