สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 3-4)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ครั้งที่ 3-4)
อาจารย์ตุล เมฆยงค์
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2568
**********

1. ข้อสอบวิชานี้ ถ้าออกกฎหมายฉบับเดียว ก็จะมีรายละเอียดมากเป็นธรรมดา แต่ถ้าออกกฎหมายสองฉบับ ก็จะถามเรื่องพื้นฐาน

2. เครื่องหมายการค้า ปกติก็จะถามว่าจดทะเบียนได้หรือไม่ และเป็นการละเมิดหรือไม่

3. อาจารย์ทบทวนครั้งที่แล้ว
-ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่พึงรับจดทะเบียน ม.6 
-ถ้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็จะได้สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายนั้นม.44 (มีสิทธิมากกว่าเครื่องหมายการค้าที่ได้มาโดยการใช้ซึ่งไม่จดทะเบียน)
-ม.6(1)+ม.7
-ม.6(2)+ม.8
-ม.6(3)+ม.13
-เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ม.7(1) , (2) , (3)

4. ม.7(4) ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น คือ การเรียงลำดับตัวหนังสือหรือตัวเลข ไม่ใช่การออกแบบตัวหนังสือ (font) หรือการแรเงา หรือลวดลายของตัวหนังสือและตัวเลข 

5. ม.7(5) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ เช่น เห็นแล้วรู้ว่าเป็น google chrome

 6. ม.7(6) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว กรณีนี้ไม่ค่อยมีปัญหา

7. ม.7(7) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว เช่น ภาพแม่ประนอม

8. ม.7(8) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น เช่น ภาพธนาคารธนชาต 

9. ม.7(9) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

10. ม.7(10) รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

11. ม.7(11) เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น

12. ม.7 วรรคสาม อะไรก็ตามที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง หากมีการใช้แพร่หลายจนคนรู้จัก ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ จดทะเบียนได้ (ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้)
-ฎ.5449/2559 คำว่า "WASHINGTON" คำว่า "แอปเปิ้ล" และรูปผลไม้แอปเปิ้ล เมื่อแยกพิจารณาต่างหากจากกันแล้วจะเป็นเพียงคำและรูปสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจนำมาใช้ได้ก็ตาม แต่หากได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ อันพึงรับจดทะเบียนได้ คดีจึงรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทได้มีการจำหน่ายเผยแพร่และโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลายแล้วในประเทศไทย และเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6(1) และม.7 วรรคสาม (ฎีกานี้เคยออกข้อสอบเนติ ตรง ๆ)

13. เครื่องหมายที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้จดทะเบียน ม.8(1)-(13)
-ม.8(10) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม เช่น เครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายโตโยต้า ทำให้คนสับสน

14 ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ม.6(3)+ม.13
-ม.13 "ภายใต้บังคับมาตรา 27 ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียน ในกรณีที่เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น
  (1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือ
  (2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน"
-เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในประเทศไทยเท่านั้น
-ข้อสอบจะบอกข้อเท็จจริงให้ชัดเจน เช่น เครื่องหมายนี้คนส่วนใหญ่เกิดความสับสน

15. สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
15.1) สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
-มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้นสำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ ม.44 
-ถ้าจดทะเบียนไว้โดยไม่จำกัดสี ให้ถือว่าใช้ได้ทุกสี ม.45
-สิทธิแต่ผู้เดียวนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะตัวเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันถึงขนาดที่เมื่อนำไปใช้แล้วอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเข้าของหรือแหล่างกำเนิดของสินค้าด้วย
-สิทธิในการคัดค้านการขอจดทะเบียนตามม.35 ร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนตามม.61 และฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามม.67
15.2) สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน

***จบการบรรยาย***

ความคิดเห็น

10 บทความยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

การฎีกาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของพนักงานอัยการโจทก์กับจำเลยที่แตกต่างกัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 22/2565)