บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2025

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 1)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด (ครั้งที่ 1) อาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2568 ********** 1. ในอดีต 20 กว่าปี ข้อสอบออกตั๋วเงิน แต่ปีที่แล้วกรรมการเลือกข้อสอบประกันภัย นักศึกษาไม่ได้อ่าน จึงไม่ค่อยมีคนสอบผ่านข้อนี้ การเรียนเนติบัณฑิตอย่าเก็งข้อสอบ เป็นการเรียนที่ไม่ถูกต้อง  2. ป.พ.พ. บรรพ 3 ใช้บังคับมาเป็น 100 ปี หลายมาตราไม่มีการแก้ไข กฎหมายตั๋วเงินหลายมาตราเป็นหมัน ไม่มีการใช้ในทางปฏิบัติ อาจารย์จะอธิบายตัวบทที่มีการใช้ มีคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา 3. ตั๋วเงินคืออะไร  -ม.321 วรรคสาม ถ้าชำระหนี้ด้วยออก ด้วยโอน หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว ตั๋วเงินจึงเป็นหนังสือตราสารที่ใช้ในการชำระหนี้อย่างหนึ่ง -ม.1005 ถ้าตั๋วเงินได้ทำขึ้น หรือได้โอน หรือได้สลักหลังไปแล้วในมูลหนี้อันหนึ่งอันใด ดังนั้น ก่อนที่จะมีมูลหนี้ตั๋วเงิน ก็จะมีมูลหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อน  ถ้ามีการออกตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ เช่น เช็คเด้ง ...

ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสี่ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 27 วรรคหนึ่ง

ฎีกา โดยไม่มีคำร้องขอฎีกา (คำสั่งคำร้องที่ คร.อท. 317/2567)

ศาลฎีกาแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ผู้ฎีกา ยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณา ตามมาตรา 46 พร้อมกับคำฟ้องฎีกา ต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น  เมื่อโจทก์ยื่นฎีกา โดยมิได้ยื่นคำร้องขอฎีกา มาด้วย จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว  ส่วน คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่โจทก์ยื่นมาพร้อมกับฎีกานั้น ก็ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นคำร้องขอฎีกาตามที่บัญญัติไว้   ต้องถือว่าเป็นการฎีกาโดยไม่มีคำร้องขอฎีกาต่อศาลฎีกามาด้วย เป็นการไม่ชอบ จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้อง และไม่รับฎีกาของโจทก์ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายมรดก (ครั้งที่ 1)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายมรดก (ครั้งที่ 1) อาจารย์ธีรศักดิ์ เงยวิจิตร วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 ********** 1. ข้อสอบมรดกจะออกคู่กับครอบครัว นาน ๆ ทีจะออกมรดกอย่างเดียว 2. มรดกเป็นผลมาจากความตาย ถ้าไม่มีความตาย ไม่มีมรดกให้แบ่ง -ความตายของบุคคล 2 กรณี 1.ตายโดยธรรมชาติ 2.ตายโดยผลของกฎหมาย  -ม.1599 วรรคหนึ่ง เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท -ม.1602 วรรคหนึ่ง + ม.62 ตายโดยผลของกฎหมาย ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ และถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบระยะเวลาตาม ม.61 (5ปี หรือ 2ปี แล้วแต่กรณี) มรดกตกแก่ทายาท 3. มรดกคืออะไร 

กฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ต่างมีส่วนที่เป็นคุณและโทษอยู่ด้วย (ฎ.434/2568)

ศาลฎีกาแผนกคดียาเสพติดวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุกำหนดโทษจำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่  เห็นว่า การกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ต้องเป็นกรณีโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งบทกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดบัญญัติให้ศาลกำหนดโทษหนักเบาตามพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ  คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ชนิดเกล็ด 1 ถุง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 77.358 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 3,000,000 บาท ก่อนลดโทษ ซึ่งพฤติการณ์แห่งคดีไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่ตามปริมาณเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนดังกล่าว ย่อมแสดงถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยด้วย หากจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกไป โดยสภาพและพฤติการณ์ย่อมก่อให้เกิดการแพร่...

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 1)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 1) อาจารย์วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 ********** 1. เอกสารประกอบการบรรยายของอาจารย์ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์เนติบัณฑิต 2. ถ้าอ่านหนังสือแล้วไม่จำ ต้องเอากฎหมายใส่ไปในใจ มีหัวใจเป็นนักกฎหมาย อย่าอ่านแค่สอบ ต้องคิดว่าคำพิพากษามีชีวิตจริง ๆ ผู้เสียหายในคำพิพากษาก็เสียหายจริง ๆ ต้องอินกับคำพิพากษา เปรียบเทียบถ้าเกิดเรื่องกับคนใกล้ตัว ก็จะจำได้ โดยไม่ต้องทวน , ใช้ภาษากฎหมายจากตัวบทกฎหมาย 3. ลักษณะของ สัญญายืมใช้คงรูป ม.640 , ม.641  -ยืมทรัพย์สินสิ่งไหน ต้องคืนทรัพย์สินสิ่งนั้น -กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปยังผู้ยืม -"ได้เปล่า" ไม่มีค่าตอบแทน (ถ้ามีค่าตอบแทน อาจเป็นเช่าทรัพย์) -บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน -ตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ ผู้ยืมตายสัญญาระงับ ม.648 4. หน้าที่ผู้ยืมใช้คงรูป

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 1)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 1) อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์ วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 ********** 1. ถ้านักศึกษาทำงานและเรียนไปด้วย มีเวลาน้อย ควรอ่านทบทวนตัวบทกฎหมาย เพราะถ้าไม่ได้หลักกฎหมาย ก็ปิดหนทางที่จะปรับข้อกฎหมายในข้อสอบ 2. กฎหมายครอบครัว แก้ไขเรื่องสมรสเท่าเทียม ใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 การศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนความคิด การสมรสเท่าเทียม โดยไม่คำนึงถึงเพศ เพิ่มสิทธิเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ เป็นการปรับแก้ถ้อยคำของกฎหมาย 3. ลักษณะ2 บิดามารดากับบุตร ก็ยังใช้คำว่า ชาย หญิง บุตร ตามธรรมชาติ 4. การหมั้น เป็นได้ทั้ง ชายหมั้นหญิง , หญิงหมั้นชาย , ชายหมั้นชาย , หญิงหมั้นหญิง เพราะม.1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อ ฝ่ายผู้หมั้น ได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น ให้แก่ผู้รับหมั้น เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้รับหมั้น

ไม่รู้ว่าคู่หมั้นอายุไม่ถึงเกณฑ์ ของหมั้นที่ส่งมอบไม่ถือว่าชำระหนี้ตามอำเภอใจ เรียกคืนได้ (ฎ.3072/2547 (ป))

นางสาว บ. เกิดวันที่ 11 ธันวาคม 2524 ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 โจทก์และจำเลยจัดพิธีแต่งงานระหว่างนาย อ. กับนางสาว บ. ซึ่งขณะนั้นอายุ 15 ปีเศษ  ก่อนพิธีแต่งงานมีการหมั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่านางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปี   ส่วนการหมั้นมีของหมั้นเป็นสร้อยคอทองคำพร้อมจี้และสินสอดเป็นเงินสด นาย อ. กับนางสาว บ. อยู่กินฉันสามีภริยากันได้ 3 วัน ก็เลิกการอยู่กินด้วยกัน และโจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงว่าจำเลยตกลงคืนเงินสินสอดจำนวน 60,000 บาท และของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท พร้อมจี้ทองคำให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 ตามเอกสารหมาย จ. 1 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า ข้อตกลงเอกสารหมาย จ. 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ขณะแต่งงานนางสาว บ. อายุ 14 ปีเศษ เป็นการขัดต่อกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ เท่ากับว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับได้ 

สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดจำนวนเงินโดยคำนวณดอกเบี้ยเกินอัตรารวมอยู่ด้วยไม่ได้ (ฎ.875/2549)

การที่ศาลจะพิจารณาและพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้   ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยทั้งสามตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 631,778.32 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับจำนวนเงินที่โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง  แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินที่คิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่เกินอัตรารวมอยู่ด้วย ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก)   (กฎหมายเดิม)   ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์ยื่นคำแถลงได้ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

เจตนาปลูกต้นสนชั่วคราว ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน (ฎ.1380/2532)

แม้ ต้นสนจะเป็นไม้ยืนต้นซึ่งนับได้ว่าเป็นส่วนควบกับที่ดิน ที่ปลูกไม้นั้น  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก (ปัจจุบันมาตรา 145) ก็ตาม แต่ถ้าไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราว ไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 (ปัจจุบันมาตรา 146) จำเลยตกลงให้ผู้ร้องปลูกต้นสน ลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโตเต็มที่จะตัด ขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสนไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสน ส่วนของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด นำไปหักต้นเงินตามสัญญากู้ (ฎ.5376/2560)

การที่จำเลย ยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 จำเลย หาอาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่   แต่ในข้อนี้ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า โจทก์ในฐานะ ผู้ให้กู้ เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ จากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้ว และจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืน เงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย   ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ 7,500 บาท ไปหักเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้เงิน ฉบับที่หนึ่ง คงเหลือหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับนี้ 42,500 บาท 

ปลูกปาล์มน้ำมันในป่าสงวนแห่งชาติโดยได้รับอนุญาต (ฎ.6666/2561)

แม้ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตผลปาล์มน้ำมันของกลางจะเกิดจากการเพาะปลูกของบริษัท บ. ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ  แต่ ต้นปาล์มน้ำมัน ดังกล่าว เป็นไม้ยืนต้น ที่ปลูกบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่รัฐอนุญาตแล้ว ไม่ปรากฏว่ารัฐหรือบริษัท บ. ได้ดำเนินการให้รื้อถอนต้นปาล์มออกไป แสดงว่าต่างมีความประสงค์ให้ต้นปาล์มน้ำมันเป็นส่วนควบของผืนป่า   และเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ผลปาล์มน้ำมัน ของกลางที่เกิดจากต้นปาล์มน้ำมันนั้น จึงเป็น ดอกผลที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า ผลปาล์มน้ำมันจึงเป็นของป่า  

ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 50/2567)

แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำเลย เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา 43 (10) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และโจทก์ฟ้องโดยตั้งรูปเรื่องว่าจำเลยละเลยไม่เปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดและเปรียบเทียบปรับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม   แต่เมื่อโจทก์อ้างว่า โจทก์แจ้งความนำจับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยประสงค์สินบนนำจับจากจำเลย จำเลยตรวจสอบแล้วพบการกระทำผิด แต่ไม่เปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดและบางรายการเปรียบเทียบปรับไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้รับเงินสินบนนำจับและได้รับเงินสินบนนำจับไม่ถูกต้องครบถ้วน  

ซื้อขายกระบือเพื่อนำไปฆ่าทำลูกชิ้น ไม่เป็นการซื้อขายสัตว์พาหนะ (ฎ.3523/2535)

กระบือทั้ง 6 ตัว ที่โจทก์ขายให้จำเลยทั้งสามมีตั๋วรูปพรรณแล้ว จึงเป็น สัตว์พาหนะ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ซึ่ง การซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 มิฉะนั้นเป็นโมฆะ   แต่จำเลยทั้งสาม ได้ซื้อกระบือจากโจทก์เพื่อนำไปฆ่าทำลูกชิ้น ที่โรงงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการซื้อขายสัตว์พาหนะซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ข้อพิพาทสำคัญเป็นเรื่องระหว่างเอกชนด้วยกัน อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 2/2568)

โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรม ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้กลับคืนดังเดิม และเพิกถอนการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. โดยฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำฟ้องเป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ต. นำหนังสือมอบอำนาจของนาย ต. ที่ลงชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แต่สิ้นผลแล้วเนื่องจากความตายของผู้มอบอำนาจ กรอกข้อความไปยื่นต่อจำเลยที่ 3 เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็น บจก. ซึ่งการรับจดทะเบียนของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้โดยโจทก์มีเจตนาให้สถานะของ หจก. ต. มอเตอร์ ผู้...