สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 1)
สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ครั้งที่ 1)
อาจารย์วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568
**********
1. เอกสารประกอบการบรรยายของอาจารย์ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์เนติบัณฑิต
2. ถ้าอ่านหนังสือแล้วไม่จำ ต้องเอากฎหมายใส่ไปในใจ มีหัวใจเป็นนักกฎหมาย อย่าอ่านแค่สอบ ต้องคิดว่าคำพิพากษามีชีวิตจริง ๆ ผู้เสียหายในคำพิพากษาก็เสียหายจริง ๆ ต้องอินกับคำพิพากษา เปรียบเทียบถ้าเกิดเรื่องกับคนใกล้ตัว ก็จะจำได้ โดยไม่ต้องทวน , ใช้ภาษากฎหมายจากตัวบทกฎหมาย
3. ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม.640 , ม.641
-ยืมทรัพย์สินสิ่งไหน ต้องคืนทรัพย์สินสิ่งนั้น
-กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปยังผู้ยืม
-"ได้เปล่า" ไม่มีค่าตอบแทน (ถ้ามีค่าตอบแทน อาจเป็นเช่าทรัพย์)
-บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน
-ตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ ผู้ยืมตายสัญญาระงับ ม.648
-จ่าย ม.642 ผู้ยืมเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม ค่าส่งมอบ ค่าส่งคืน
-ใช้ ม.643 ถ้าเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากปกติ หรือนอกจากที่สัญญา เอาไปให้คนอื่นใช้ เอาไปไว้นานกว่าที่ควร โดยหลักผู้ยืมต้องรับผิด แม้จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
-สงวน ม.644 สงวนทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชน
-คืน ม.640 , ม.646 คืนเมื่อใช้เสร็จ แต่ถ้ากำหนดเวลาไว้ก็ต้องคืนตามกำหนด
-บำรุง ม.643 บำรุงรักษาทรัพย์สินตามปกติ
5. ความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป ผู้ยืมต้องรับผิดเมื่อผิดหน้าที่ ถ้าไม่ผิดหน้าที่ ม.643 , ม.644 แม้เกิดความเสียหายก็ไม่ต้องรับผิด
6. ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูป
-ผู้ยืมตาย สัญญาระงับ
-บอกเลิกสัญญา ม.645
7. อายุความ
-ค่าทดแทน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา
-คู่สัญญาเรียกใช้ราคา 10 ปี ม.193/30
-เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามทรัพย์คืน ไม่มีอายุความ ม.1336
8. ลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม.650
-ใช้ไป สิ้นไป
-โอนกรรมสิทธิ์
-บริบูรณ์เมื่อส่งมอบ
-มีค่าตอบแทนได้
9. หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง ม.650 วรรคหนึ่ง , ม.651 , ม.652
10. ต่อไปเป็นเรื่องสำคัญ กู้ยืมเงิน ม.653-ม.656
-สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่ง
-ต้องนำบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมสัญญา หนี้ ในบรรพ 1 บรรพ 2 มาใช้ด้วย บางปีต้องใช้ตอบข้อสอบด้วยเล็กน้อย
*นิติบุคคลทำสัญญายืม ม.66 หลักต้องทำตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล จึงจะผูกพัน เว้นแต่เรื่องกู้ยืมเงิน ถ้านิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้า แล้วไปกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการค้า ก็ถือว่าทำในวัตถุประสงค์
*สัญญากู้ยืมเงิน ต้องมีวัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่พ้นวิสัย หรือไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ม.150 (บอกผู้กู้ว่าจะเอาไปลงทุนค้าฝิ่นเถื่อน , จะเอาไปใช้หนี้ค่าจ้างมือปืนไปยินครู , ผู้กูรู้ว่าจะไปวิ่นเต้นกรรมการคุมสอบ , หนี้พนักทายผลฟุตบอล สัญญาเป็นโมฆะ , สัญญากู้ที่มีดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ)
*ม.321 วรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป (ไม่อยู่ในบังคับ ม.653 วรรคสอง)
*ฎ.952/2523 การทำหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมระงับไป หนังสือรับสภาพหนี้คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ในมูลหนี้เดิม (ข้อสอบเนติ สมัย 69)
*อายุความ สัญญากู้ยืมเงิน อายุความ 10 ปี ม.193/30 เว้นแต่ตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้คืนโดยผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี ม.193/33 (2) และถ้าผู้กู้ตาย อายุความมรดก 1 ปี ม.1754 วรรคสาม
11. *หัวข้อหลัก เรื่องกู้ยืมเงินที่อาจารย์จะสอน
1) บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบเงินกู้ยืม ม.650 วรรคสอง
2) กำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืม ม.652
3) หลักฐานแห่งการกู้ยืม ม.653 วรรคหนึ่ง
4) การนำสืบการใช้เงินกู้ยืม ม.653 วรรคสอง
5) ดอกเบี้ยในการกู้ยืม ม.654 , ม.655 , พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยฯ , พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.
6) การรับหรือคืนทรัพย์สินแทนเงินกู้ยืม ม.656
12. หัวข้อ 1) จะบรรยายครั้งหน้า เริ่มที่ข้อ 2) กำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืม ม.652
-ถ้ามีกำหนดเวลาคืนตามวันปฏิทิน ก็คืนตามกำหนด มิฉะนั้นลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย ม.204 วรรคสอง
-ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้และอนุมานไม่ได้ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ม.203 วรรคหนึ่ง และภายหลังเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนแล้ว ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ก็ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ม.204 วรรคหนึ่ง
ฎ.583/2562 โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ ถือว่าเป็นการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมอยู่ในตัวแล้ว
-ถ้าไม่มีกำหนดเวลาคืนกันไว้แน่นอน ม.652 (สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาคืน) ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวให้คืนภายในเวลาอันควรก็ได้
ฎ.5182/2556 ม.652 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้ให้ยืม สำหรับกรณีที่ในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ว่าผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนเงินภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้เท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหรือเรียกให้ผู้ยืมชำระหนี้ได้โดยพลัน จึงหาใช่ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามไม่
ฎ.1302/2535 หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิทวงถามได้โดยพลัน ตาม ม.203 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยผิดนัดในวันฟ้อง
*ขอให้นักศึกษาไปทบทวน ม.652 + ม.203 + ม.204
***จบการบรรยาย***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น