สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 3)
สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายครอบครัว (ครั้งที่ 3)
อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2568
**********
1. ผลของการหมั้น ไม่อาจร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรส ม.1438
-แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งใช้วิธีการอื่นใดบังคับให้สมรส ก็ต้องดูว่าต้องด้วยเหตุแห่งการข่มขู่ตาม ม.1507 อันมีผลให้การสมรสเป็นโมฆียะหรือไม่ (ถ้าตกเป็นโมฆียะ ก็ฟ้องเพิกถอนการสมรสและเรียกค่าทดแทนได้)
-การหมั้นจะมีข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับไม่ได้ ผลเป็นโมฆะ**
2. ผลเกี่ยวกับของหมั้น
1) เรียกคืนของหมั้นไม่ได้ ได้แก่
-มีการสมรส ม.1471(4) เป็นไปตามความประสงค์ของของหมั้น จึงไม่มีเหตุต้องคืนของหมั้น ของหมั้นนั้นก็จะกลายเป็นสินส่วนตัว
แต่ถ้าการสมรสเป็นโมฆะ แยกเป็น 2 กรณี
1.1) ขณะหมั้นเป็นโมฆะ จึงไม่เรียกว่าของหมั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นสินส่วนตัว เพราะอีกฝ่ายมีสิทธิเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ ฎ.3072/2547
1.2) ขณะหมั้น การหมั้นสมบูรณ์ แต่การสมรสเป็นโมฆะ ม.1437 วรรคสอง ก็ไม่ต้องคืนของหมั้น เพราะไม่ใช่สิทธิที่ได้มาเพราะการสมรส ม.1499 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
-ผู้หมั้นผิดสัญญาหมั้น ผู้รับหมั้นไม่ต้องคืนของหมั้น ม.1439
-ผู้หมั้นหรือผู้รับหมั้นตายก่อนสมรส ไม่ต้องคืนของหมั้น ม.1441
-ผู้รับหมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ฝ่ายผู้หมั้น หรือผู้หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรง ผู้รับหมั้นไม่ต้องคืนของหมั้น ม.1443 , ม.1444
2) เรียกคืนของหมั้นได้ ได้แก่
-ผู้รับหมั้นผิดสัญญาหมั้น ม.1439
-คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะ
--มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ผู้รับหมั้น ม.1442 , ม.1444 เพราะเหตุผู้หมั้นร่วมประเวณีกับผู้อื่นหรือมีผู้อื่นกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่
3. ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่าง "เหตุสำคัญ" ม.1442 , ม.1443 กับ "การกระทำชั่วอย่างร้ายแรง"
1) ข้อเหมือน
-เป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาหมั้นได้
-เหตุดังกล่าวเกิดได้ทั้งผู้หมั้นและผู้รับหมั้น
-เหตุดังกล่าวไม่ต้องทำต่อคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง
-กระทำชั่วอย่างร้ายแรงเป็นเหตุอย่างหนึ่งในเหตุสำคัญเท่านั้น
-ถ้าเหตุดังกล่าวเกิดแก่ฝ่ายผู้รับหมั้น นอกจากจะบอกเลิกสัญญาหมั้นได้แล้ว ยังมีสิทธิเรียกของหมั้นคืนได้
2) ข้อแตกต่าง
-เหตุสำคัญเกิดก่อนหรือหลังการหมั้นก็ได้ แต่การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงต้องเกิดขึ้นหลังการหมั้นแล้ว (ถ้ากระทำชั่วอย่างร้ายแรงก่อนหมั้น ก็เป็นเหตุสำคัญได้ แต่จะเรียกค่าทดแทนเพราะกระทำชั่วอย่างร้ายแรง ม.1444 ไม่ได้)
-เหตุสำคัญไม่จำต้องเป็นการกระทำ เช่น เป็นโรคพันธุกรรม , ประสบอุบัติเหตุพิการ แต่เหตุตาม ม.1444 ต้องเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
-เหตุสำคัญ ไม่มีผลให้ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน **แต่ผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน (โดยต้องมีการบอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ถ้าไม่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้)
4. สิทธิเรียกค่าทดแทนระหว่างกัน มี 2 เหตุ
1) เหตุผิดสัญญาหมั้น ม.1439 + ม.1440
-กรณีนี้จะต้องมีการหมั้น และการหมั้นสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ แล้วมีการผิดสัญญาหมั้น คือ มีการปฏิเสธการสมรสโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ม.1442 , ม.1443 จึงเรียกค่าทดแทนระหว่างกันได้ เช่น ทำพิธีแต่งงานและส่งตัวเข้าเรือนหอแล้ว หญิงรับปากว่าจะจดทะเบียนสมรสกันในวันรุ่งขึ้น แต่กลับหลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรส (ฎ.5933/2533) หรือหญิงอ้างว่าชายสติไม่สมบูรณ์ คล้ายคนปัญญาอ่อน แต่ที่จริงไม่ใช่ (ฎ.483/2533)
-ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่สมรส ก็เป็นการตกลงเลิกสัญญาหมั้น ไม่ใช่การผิดสัญญาหมั้น
-มีการหมั้น จึงผิดสัญญาหมั้นได้ ฎ.4905/2543
-หากมีการสมรสกันแล้ว แม้ต่อมาไม่ได้อยู่ด้วยกัน ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ ฎ.83/2542
-ถ้ามีเหตุที่จะปฏิเสธไม่ยอมสมรส เช่น ชายไม่ปลูกบ้านในที่ดินของมารดาหญิงตามที่ตกลงกันไว้ หญิงก็ไม่ผิดสัญญาหมั้น ฎ.1392/2542
-การมิได้จดทะเบียนสมรส เพราะต่างไม่ยึดถือการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญ ฎ.1366/2552
-หญิงรบเร้าให้ชายไปจดทะเบียนสมรส ชายขอเลื่อน ในที่สุดชายโมโหไล่หญิงออกจากบ้าน หญิงต้องกลับไปอยู่กับบิดามารดา แสดงว่าชายไม่ยอมสมรส (ฎ.5777/2540)
-แต่งงานอยู่กินกันแล้ว หญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง ต่อมาบิดามารดาของชายไล่หญิงออกจากบ้านโดยชายมิได้สนใจติดตามหญิงให้กลับมา (ฎ.2165/2538)
-กรณีไม่มีของหมั้น (ฎ.45/2532) หรือสู่ขอกันเฉย ๆ (ฎ.1034/2535) หรือไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญ (ฎ.592/2540 , 8954/2549) เหล่านี้ถือว่ายังไม่มีการหมั้น จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนต่อกันได้ รวมทั้งการหมั้นเป็นโมฆะด้วย
-ไม่มีของหมั้น ถ้าตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหากผิดสัญญาจะชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้ จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ แม้มิใช่กรณีผิดสัญญาหมั้น (ฎ.449/2531)
ค่าทดแทนที่จะเรียกได้ ม.1440 (ค่าทดแทนนี้ ไม่ได้คำนึงถึงหลักเรื่องละเมิด)
โดยหลักบุคคลผู้มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้คือคู่หมั้น คู่หมั้นมีสิทธิเรียกเอาจากคู่หมั้นอีกฝ่ายหรือจากคู่สัญญาหมั้น ยกเว้น ม.1440(2) ให้สิทธิแก่คู่หมั้น บิดามารดา หรือผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาด้วย โดยเรียกค่าทดแทนได้เฉพาะค่าใช้จ่ายหรือหนี้โดยสุจริตที่ต้องเตรียมการสมรสตามสมควร
-ม.1447 วรรคสอง ให้สิทธิตาม ม.1440 (2) เป็นมรดกตกทอดได้ (เคยออกข้อสอบเนติ) แต่สิทธิตาม ม.1440(1) (3) ไม่เป็นมรดก เว้นแต่รับสภาพหรือฟ้องคดีไว้แล้ว
-"ผู้ต้องรับผิด" ยังครอบคลุมถึงบุคคลที่เป็นฝ่ายที่ผิดสัญญาหมั้นด้วย ม.1439 หากบิดามารดามิได้ขัดขวางมิให้หญิงไปจดทะเบียนสมรส จะฟ้องเรียกค่าทดแทนไม่ได้ ฎ.761/2495
-ค่าทดแทนที่เรียกได้ตาม ม.1440 มี 3 กรณี
1.1) ความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง (ไม่ใช่หลักละเมิด)
เช่น หญิงเป็นดารา หมั้นแล้ว ชายผิดสัญญาหมั้น จะเรียกค่าทดแทนที่ทำให้เรตติ้งลดลง งานแสดงน้อยลง ไม่ได้รับบทดี ๆ เป็นต้น
-เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น หาเป็นผลก่อให้เกิดความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่งเสมอไป จึงต้องนำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไร
-การกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่เพียงพอให้ศาลฟังว่าเสียหายอย่างไร (ฎ.1305/2514 ,3868/2531)
-แต่เมื่อบรรยายฟ้องว่าผิดสัญญาหมั้นแล้ว ไม่ต้องบรรยายว่ากระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายตาม ม.420 (ฎ.1092/2539)
-การอยู่กินร่วมกันจนมีบุตร ทำให้หญิงต้องรับความอับอายเสียชื่อเสียง (ฎ.3366/2525)
-หญิงตั้งครรภ์และต้องทำแท้งตามคำแนะนำของชาย จากนั้นหญิงป่วยหนักต้องเสียเงินรักษาตัว (ฎ.1223/2519)
-ระหว่างอยู่กินกัน ชายทำร้ายร่างกายหญิงได้รับบาดเจ็บ
-แม้ชายจะให้เงินของหมั้นหรือส่งเสียเลี้ยงดูหญิงระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ก็เป็นคนละส่วนกับความเสียหายต่อชื่อเสียง (ฎ.13672/2557)
1.2) ความเสียหายเนื่องจากการได้ใช้จ่ายหรือตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรส โดยสมควรด้วยคาดหมายว่าจะได้สมรส
-บุคคลผู้มีสิทธิเรียกได้ ไม่จำกัดเฉพาะคู่หมั้น แต่รวมถึงบิดามารดาหรือผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดา
-ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการหมั้น ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เป็นคนละส่วนกัน
-ต้องเป็นการใช้จ่ายหรือตกเป็นหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรส เช่น ซื้อที่นอนหมอนมุ้ง เครื่องครัว เครื่องใช้ประจำบ้าน (ฎ.1217/2497) ชุดแต่งงานเมื่อเข้าพิธีสมรส (ฎ.2165/2538) ค่าตกแต่งเรือนหอ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อมาสมรส เช่น ค่าเช่ารถ การเสียค่าเช่าล่วงหน้าเกี่ยวกับห้องในอพาร์ตเม้นเพื่อเป็นเรือนหอ เป็นต้น
-การถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง (pre wedding) ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการสมรสที่จำเป็นสำหรับคู่บ่าวสาว เพื่อให้งานสมรสเป็นไปอย่างสมบูรณ์ การถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง ทั้งปัจจุบันมีการติดต่อทำธุรกิจวางแผนจัดงานแต่งงาน ให้คำปรึกษา ประสานงานในการทำพิธีต่าง ๆ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในพรีเวดดิ้ง ค่าช่างภาพ ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าสถานที่ถ่ายภาพ ค่าชุดสำหรับถ่ายภาพ จึงเหมาะสม เรียกได้ (ฎ.3296/2566)
-เงินที่ชายให้หญิงเพื่อไปซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรส ฝ่ายหญิงต้องคืน (ฎ.3868/2531)
1.3) ความเสียหายเนื่องจากการจัดการทรัพย์สินหรือการอื่นเกี่ยวแก่อาชีพทางทำมาหาได้โดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้สมรส
-จำกัดเฉพาะการจัดการทรัพย์สินหรือการอื่นเกี่ยวแก่อาชีพ , การทำมาหาได้ของคู่หมั้นเท่านั้น ไม่รวมถึงบุคคลอื่น
-ต้องเป็นการจัดการตามสมควรด้วยคาดหมายว่าจะมีการสมรส ถ้าคู่หมั้นอีกฝ่ายปฏิเสธที่จะสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้นแล้ว การกระทำภายหลังจากนั้น ถือว่าคาดหมายได้ว่าไม่มีการสมรส จึงฟ้องเรียกไม่ได้ (ฎ.3366/2535)
2) เหตุการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายภายหลังการหมั้น ม.1444 (โดยต้องมีการบอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว)
-ไม่ใช่การผิดสัญญาหมั้น ยังมีความประสงค์จะสมรสอยู่ แต่มีการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น และเรียกค่าทำแทน
-กระทำชั่วอย่างร้ายแรงก่อนการหมั้น ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้
5. สิทธิเรียกค่าทดแทนต่อบุคคลอื่น มี 2 เหตุ
1) เรียกจากผู้ที่ร่วมประเวณีหรือผู้ที่กระทำกับคู่หมั้นของตน เพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตน ม.1445
-ผู้กระทำไม่มีสิทธิตามกฎหมาย
-คู่หมั้นสมัครใจหรือยินยอมให้ร่วมประเวณีหรือถูกกระทำ
-หากคู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ การหมั้นเป็นโมฆะ ไม่อาจเรียนค่าทดแทนได้
-ผู้อื่นนั้น ต้องรู้หรือควรรู้ถึงการหมั้นนั้น คือ รู้ว่ามีการหมั้นแล้วและหมั้นกับผู้ใด จึงเรียกค่าทดแทนจากผู้นั้นได้ มีลักษณะเช่นเดียวกับจงใจหรือประมาทเลินเล่อในทางละเมิด
-ต้องมีการบอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ตาม ม.1442 หรือ ม.1443 แล้วแต่กรณี หากไม่บอกเลิกสัญญาหมั้น ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน
-หากคู่หมั้นยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ ก็บอกเลิกสัญญาหมั้นไม่ได้
-หากคู่หมั้นให้อภัย ก็บอกเลิกสัญญาหมั้นไม่ได้ (เทียบ ม.1518)
-ม.1447 วรรคสอง สิทธิเรียกค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าตายไปก่อน บิดามารดาใช้สิทธิเรียกร้องไม่ได้ , จะโอนสิทธิแก่ผู้อื่นก็ไม่ได้
-คู่หมั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ตาม ม.1444
-คู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่หมั้นซึ่งเป็นเพศเดียวกัน
2) เรียกจากผู้ซึ่งข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้นของตน ม.1446
-คู่หมั้นไม่ต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น
-คู่หมั้นเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งโดยอ้าง ม.1444 ไม่ได้
-คู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่กระทำการละเมิดตนได้
-หากคู่หมั้นรู้เห็นเป็นใจ นอกจากไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว คู่หมั้นอีกฝ่ายอาจบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าทดแทนจากคู่หมั้นของตนได้ตาม ม.1444 (เทียบ ม.1517 วรรคหนึ่ง)
-คู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงหรือชายอื่นที่ข่มขืนหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงหรือชายคู่หมั้นของตนได้ กรณีตัวการที่ร่วมกระทำความผิดได้ร่วมข่มขืนด้วย ก็ต้องรับผิด แต่ถ้ามิได้ข่มขืน เช่น แบ่งหน้าที่กันทำ ช่วยจับแขนขา แม้ผิดทางอาญาก็ไม่ต้องรับผิด เป็นบทเฉพาะ ไม่ใช้ ม.432
6. การกำหนดค่าทดแทน
-การกำหนดค่าทดแทนโดยทั่วไป ม.1447 วรรคหนึ่ง , ตกลงเรื่องเบี้ยปรับไม่ได้ ม.1438
-การกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้รับหมั้น ม.1440 วรรคท้าย
สรุป การสิ้นสุดของการหมั้น
โดยผลของกฎหมาย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ม.1441 (ตายโดยธรรมชาติ ไม่รวมถึงกรณีศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ)
โดยการบอกเลิกสัญญา
--บอกเลิกเพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่ผู้รับหมั้น ม.1442
--บอกเลิกเพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่ผู้หมั้น ม.1443
-เหตุสำคัญที่ทำให้บอกเลิก หากเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ฝ่ายที่บอกเลิกมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ ม.1444
--บอกเลิกโดยคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น
การบอกล้างสัญญาหมั้น เช่น หมั้นโดยปราศจากความยินยอม ม.1436 ผลของการบอกล้างเป็นไปตาม ม.176 แต่การเรียกคืนของหมั้น, สินสอด เป็นไปตาม ม.1437 วรรคท้าย ในลักษณะลาภมิควรได้
***จบการบรรยาย***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น