สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 6)

สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 6)
อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568
**********

1. ความรับผิดของลูกหนี้ในกรณีเฉพาะ กฎหมายกำหนดไว้ 2 กรณี คือ
1.1) ความรับผิดกรณีลูกหนี้ผิดนัด ม.216 , 217 , 224 , 225
1.2) ความรับผิดกรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ ม.218

2. ความรับผิดกรณีลูกหนี้ผิดนัด
2.1) เหตุของการผิดนัด ม.204 , 206
2.2) ข้อแก้ตัวของลูกหนี้ ม.205
2.3) ผลในความรับผิดของลูกหนี้ผิดนัด ม.216 , 217 , 224 , 225

3. เหตุแห่งการผิดนัดของลูกหนี้
3.1) การผิดนัดเกิดจากการที่มีคำเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้หลังหนี้ถึงกำหนดชำระหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ม.204 วรรคหนึ่ง
-ม.204 วรรคหนึ่ง "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว"
-หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่กฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จะต้องเตือนให้ลูกหนี้รู้ว่าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากลูกหนี้ยังไม่ชำระ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
-ประเภทของหนี้ที่ต้องเตือน คือ หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ไม่แน่นอนตามวันปฏิทิน 
-เตือนเป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้
3.2) การผิดนัดเกิดโดยไม่ต้องเตือน
-หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนด ลูกหนี้ผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องเตือนเลย ม.204 วรรคสอง "ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว"
-หนี้มูลละเมิด ม.206 ลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ละเมิดวันไหนก็ผิดนัดวันนั้น

4. ข้อยกเว้นการผิดนัด (ข้ออ้างของลูกหนี้ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด)
-ม.205 การชำระหนี้ยังทำลงไม่ได้เพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
-ม.205 "ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่"
-เป็นกรณีลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ชั่วคราว
-เกิดจากพฤติการณืที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ (กรณีไม่ได้เกิดจากลูกหนี้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ , กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด)
-ผลของม.205 ลูกหนี้ยังไม่ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ตามม.205 แต่หนี้ยังไม่ระงับ

5. หลักการเป็นเจ้าหนี้ผิดนัด
5.1) เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ม.207
-ม.207 "ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด"
-เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ แต่ไม่ใช้สิทธิของตัวเอง ทำให้ลูกหนี้ต้องแบกรับภาระหนี้อยู่ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ลูกหนี้จึงยังไม่ผิดนัดม.205
-มีการที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติชำระหนี้โดยชอบตามม.208 , 209
5.2) เจ้าหนี้ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำ ม.210
-ม.210 "ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัตินั้นแล้วก็ดี หากไม่เสนอที่จะทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำ เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด"
-เช่น สัญญาต่างตอบแทน เจ้าหนี้ต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อน ผู้รับเหมาจึงจะเริ่มก่อสร้างได้

ครั้งหน้าจะมาต่อในเรื่องผลในความรับผิดของลูกหนี้ผิดนัด

***จบการบรรยาย***

✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 8
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 9
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 10
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 11
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 12
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 13
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 14
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 15
✅สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ ครั้งที่ 16

ความคิดเห็น

10 บทความยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (44 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (20 ข้อ)