สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 4)
สรุปคำบรรยายเนติบัณฑิต 1/78 ภาคค่ำ
กฎหมายหนี้ (ครั้งที่ 4)
อาจารย์ดาราพร ถิระวัฒน์
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2568
**********
หลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการชำระหนี้ถูกต้อง (กฎหมายมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงจะทำให้หนี้ระงับไปได้)
1) กำหนดเวลาชำระหนี้ ม.203 (อาจารย์อธิบายในครั้งที่แล้ว)
2) ผู้ชำระหนี้ ม.314
3) ผู้รับชำระหนี้ ม.315-319
4) วิธีการชำระหนี้ ม.320-323
5) สถานที่ชำระหนี้ ม.324
6) ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ม.325
7) หลักฐานการชำระหนี้ ม.326-327
8) การจัดสรรการชำระหนี้ ม.328-329
9) การวางทรัพย์ ม.331-339
1. ผู้ชำระหนี้
1.1) ลูกหนี้ , ตัวแทนลูกหนี้ , ทายาทของลูกหนี้ (ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด) , บุคคลที่ลูกหนี้ใช้ในการชำระหนี้ม.220
-โดยปกติ ถ้าไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่น ตัวผู้ชำระหนี้ก็คือตัวลูกหนี้โดยตรง
1.2) ผู้มีสิทธิรับช่วงสิทธิ ม.227 , 229 , 230
-ตามกฎหมาย ผู้รับช่วงสิทธิเป็นผู้มีส่วนได้เสียในหนี้ของลูกหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ จำต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ จึงรับช่วงสิทธิ
1.3) บุคคลภายนอก ม.314 (ในหนังสือของอาจารย์ ๆ ให้ความสำคัญมาตรานี้)
2. การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก ม.314
ม.314 "อันการชำระหนี้นั้น ท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่"
บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่"
-ม.314 เป็นข้อยกเว้น ที่ให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ เป็นผู้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
-ต้องมีความรับผิดของลูกหนี้เสียก่อน บุคคลภายนอกจึงจะเข้ามาชำระหนี้ได้
-เหตุที่มีบุคคลภายนอกเข้าชำระหนี้ของลูกหนี้ เช่น อาจมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ชำระหนี้แทนลูกหนี้ เพื่อให้ธุรกิจของบุคคลภายนอกซึ่งต้องพึ่งพาธุรกิจของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้
2.1) ข้อยกเว้นที่บุคคลภายนอกชำระหนี้ไม่ได้
-สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ไม่ใช่หนี้เฉพาะตัว เช่น ระบุชื่อนักร้อง จิตรกร เช่นนี้บุคคลภายนอกจึงชำระหนี้แทนไม่ได้ (ยกเว้นเจ้าหนี้ยอมให้นักร้องคนอื่น จิตรกรคนอื่นมาชำระหนี้แทน ก็กลายเป็นเรื่องเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นได้ม.320 คือไม่เข้าม.314 แต่เข้าม.320ได้ เป็นความเห็นของอาจารย์ ยังไม่มีฎีกา)
-การขัดต่อเจตนาที่คู่กรณีได้แสดงไว้ เช่น เจ้าหนี้ลูกหนี้ได้ตกลงกันไว้ว่าจะไม่รับชำระหนี้จากบุคคลอื่น (การใช้กฎหมายอย่างเถรตรง ต้องระวัง เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เกิดความเสียหายกับเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ลูกหนี้มีข้อตกลงไม่รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอก ตรงตามม.314 แต่ถ้าเจ้าหนี้ไปรับชำระหนี้จากบุคคลภายนอก แม้ผิดข้อตกลง ผิดเจตนากัน แต่ไม่เกิดความเสียหายกับ่ตัวลูกหนี้ ในทางตรงข้ามกลับทำให้เจ้าหนี้ก็ได้รับชำระหนี้ และก็ทำให้หนี้ระงับ ซึ่งอันนี้คือความเห็นทางกฎหมาย และกฎหมายหนี้ไม่ได้เคร่งครัด)
-การขืนใจลูกหนี้ ม.314 วรรคสอง ไม่มีสภาพบังคับ (คนอื่นมาทำการชำระหนี้แทน ทำให้เสียชื่อเสียง เสียเครดิต แต่มองอีกมุม การที่มีคนอื่นมาชำระหนี้แทน ก็เหมือนว่าลูกหนี้มีเครดิตดี)
3. ตัวอย่างฎีกา
-ฎ.595/2537 การที่บุคคลภายนอกตกลงกับเจ้าหนี้จะชำระหนี้ ถือเป็น "สัญญาประเภทหนึ่ง"
-ฎ.2468/2549 ข้อตกลงโอนโครงการขายบ้านและที่ดิน เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย
-ฎ.9103/2560 ประเด็นข้อเท็จจริงที่มีบุคคลภายนอกทำสัญญาปรับปรุงโคงสร้างหนี้เพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้กับเจ้าหนี้ (สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ จะมีเงื่อนไขหนี้เดิมจะระงับเมื่อได้ชำระหนี้ตามสัญาปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อย ถ้าชำระหนี้ไม่เรียบร้อย ก็กลับไปเรียกจากหนี้เดิมได้)
4. ผู้รับชำระหนี้
4.1) ฝ่ายเจ้าหนี้
-เจ้าหนี้ ม.315
-บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ม.315
--ผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ตัวแทนตามสัญญา
--ผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมาย เช่น ผู้ใช้อำนาจปกครองรับชำระหนี้แทนผู้เยาว์เจ้าหนี้
-การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอให้สั่งอายัดการชำระหนี้ ม.319
4.2) บุคคลอื่นที่รับชำระหนี้ ทำให้หนี้ระงับลงได้
-"ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้" บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าเขามีสิทธิได้รับชำระหนี้ ม.316 เช่น ม.441 มีฎีกาใหม่ เล่ม 11 ฎ.883/2567 (ม.226 วรรคหนึ่ง + 316 + 880 วรรคหนึ่ง)
-ผู้ถือใบเสร็จ ม.318
-บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ การชำระหนี้สมบูรณ์เท่าที่เจ้าหนี้ได้ลาภงอก ม.317
-บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ได้ให้สัตยาบัน ม.315
***จบการบรรยาย***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น